ร้อยเชือกรองเท้าแบบไม่ให้เจ็บ

มีวิธีการผูกเชือกรองเท้าล้านแปด หาอีกก็มีอีก
ตอนแรกว่าจะเขียนแนะนำว่าผูกแบบไหนดี หรือไม่ดี

มีเพื่อนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ วันๆอยู่กับเท้าคนไข้ หน้าร้อนเคยไปกินกาแฟกันแล้วมีคนไข้เดินเข้ามาทัก เธอทำหน้างงๆ จนมองไปที่เท้าของเค้า (ใส่แตะอยู่) จำได้!

เออ อย่างงี้ก็มีด้วย

เธอบอกว่า เท้านี่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของแต่ละคนนะ ไม่มีใครเหมือนกันหรอก เธอจำเท้าคนไข้ได้มากกว่าหน้าอีก

ดังนั้นรองเท้าที่เราว่าใส่สบาย สำหรับอีกคนอาจจะไม่ดีเลยก็ได้

การร้อยเชือกรองเท้าก็เช่นกัน

บอกเลยว่า เมื่อก่อนขี้เกียจมาก ผูกจากร้านมาแบบไหนก็ไส่ไปอย่างนั้น รู้สึกเยอะ จนมาเท้าแพลง แต่ยังต้องประกอบอาชีพเทรนเนอร์อยู่ ต้องใส่รองเท้าออกกำลังกาย ก็เลยมาลองดู ลองอ่านและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้ความมาว่า

เราต้องเข้าใจหลักของการร้อยแบบต่างๆ แล้วถึงเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับเท้าตัวเองนะคะ

ผูกเท้ายืนกระโดดขาเดียวว่าเป็นไง เพราะการวิ่งคือการกระโดดขาเดียวทีละข้างไงคะ

มาดูกัน ไม่พูดมากแล้ว

แบบที่หนึ่ง สำหรับคนที่เท้าด้านหน้ากว้างนิดนึง เวลาซื้อรองเท้ามาใหม่ๆ รองเท้าจะค่อนข้างบีบด้านข้างหรือพอดีเกินไป และประกอบกับเนื้อรองเท้ายังแข็งอยู่ จนเราใช้ไปได้ระยะนึงแล้วถึงจะอ่อนตัวลง จะรู้สึกได้ดีเวลาใช้รองเท้าไหม่วิ่งยาว เพราะเวลาเราวิ่งไประยะหนึ่งแล้วเนี่ย เท้าเราจะพองขึ้น เป็นเรื่องปกตินะคะ ยิ่งเป็นรองเท้าไหม่ก็จะรู้สีกบีบ ทั้งๆที่ตอนซื้อมารู้สึกว่ายังพอดีอยู่เลย

การผูกแบบนี้จะทำให้ ช่วงหน้าเท้าไม่มีแรงบีบเกินไป

แบบที่สอง สำหรับคนที่มี high arch คือหลังเท้าสูง หรือเจ็บหลังเท้านะคะ

หลักการคือ เว้นการร้อยในช่วงรูตรงแถวกลาง 2 แถว แทนที่จะผูกไขว้มาตรงกลางแบบปกติมนุษย์ เราก็ร้อยทางด้านข้างแทน

ลองทำแล้ว ไม่ต้องกลัวนะคะ มีความแน่นหนาหรือ stability พอ ถ้าเว้นแค่ 2 แถวนะคะ (ดูรูปเอานะคะ) ใส่ทั้งวันก็ไม่หลุดเท้า

แบบที่สาม สำหรับคนที่นิ้วโป้งมีเลือดห้อ ช้ำง่ายให้
ร้อยเชือกด้านที่ตรงข้ามกับนิ้วโป้งและข้ามยาวทะแยงไปร้อยตรงรูท้ายสุดเลยนะคะ ส่วนอีกด้านนึงก็ร้อยเป็นรูป ซิกแซกไปจนสุด จะรู้สึกว่ารองเท้าด้านนิ้วโป้งจะเหมือนถูกดึงขึ้นมานิดนึงจากตัวเล็บ เป็นการเพิ่มเนื้อที่ด้านบน ขึ้นมาหน่อยนึง

ลองทำดูแล้ว ก็รู้สึกว่า มันดึงขึ้นมานิดจริงๆนะคะ แต่กับตัวเองไม่ค่อยมากเท่าไหร่เพราะเป็นคนวิ่งแล้วชอบแอ่นนิ้วโป้งขึ้นมาด้วย (ทำไมไม่รู้) แต่ก็มีเนื้อที่มากขึ้นนะคะ

แบบที่สี่ สำหรับคนที่เท้าอ้วนโดยรวมนะคะ หรือเวลาวิ่งยาว มันจะทำให้หลวมขึ้นนิดนึง วิ่งสบายขึ้นนะคะ

แบบที่ห้า สำหรับคนที่ส้นเท้าแคบ วิ่งแล้วเท้าชอบหลุดๆออกมา เปลี่ยนมาร้อยด้านข้างตรงรูเกือบสุดท้าย จะช่วยให้รูด้านข้างบีบตัวเข้ามาให้เหลือที่น้อยลง แต่ไม่กดบน แล้วก็ไปผูกตรงรูสุดท้ายให้ไปช่วยรัดข้อเท้าอีกที อธิบายยากจัง ดูรูปเอานะคะ

แบบที่หก สำหรับคนหน้าเท้ากว้าง แต่ที่เหลือทรงปกติ ก็เว้นตรงจุดที่กว้างที่สุดของเท้านะคะ อย่าลืมว่าลองยืนเขย่งดูนะคะ จุดที่กว้างจะเลื่อนมานิดๆจากเวลายืนเฉยๆ ส่วนใหญ่ก็คือรูแถวที่ 2-3 ตามในรูปนะคะ

ปวดหัวหน่อยนะคะ ต้องคอยเลื่อนดูรูป อธิบายก็ไม่ค่อยเก่ง ปราบเซียนจริงๆ เขียนมา 3 วันแล้วนี่

อย่างที่บอกนะคะ อย่าคิดว่าจะใช้แก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่อาจทำให้ปัญหาที่มีอยู่ทุเลาลงไปบ้าง เท่านั้นเองค่ะ

ลองดูนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *