วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้ากับวิ่งข้างนอกอะไรดีกว่ากัน

ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน
.
คำถามโลกแตก มีคนสองค่ายให้เถียงกัน เถียงไปเถอะ ไม่จบหรอกค่ะ
.
ไม่เถียงด้วยหรอก แค่ไปอ่านเจออะไรมา ก็อยากจะมาเล่าให้ฟัง มาคิดต่อดังๆให้อ่านนะคะ
.
มีคนเปรียบเทียบการวิ่งบนลู่เป็นเหมือนการทำขนมปังด้วยเครื่องทำขนมปัง ตราบใดที่เครื่องปรุงครบ เซ็ตเครื่อง เซ็ตเพส กดปุ่ม ก็ไปได้เลย แต่มันไม่สะใจสำหรับบางคน คือมันเรียบไปไงคะ มีแรงก็วิ่งไปสิ จบก็ปิด เดินลง
.
วิ่งข้างนอกเนี่ยมันตื่นเต้น ต่อให้ทางราบรื่นแค่ไหน มันก็ไม่ราบรื่น มีแดด มีลม มีฝุ่นควัน ที่สำคัญคือมีอะไรที่ให้เรามองได้ตลอดทาง วิวไม่ซ้ำ ว่างั้นเถอะ เรื่องเบื่อเนี่ย เถียงไม่ได้นะ วิ่งข้างนอกน่าเบื่อน้อยกว่าวิ่งบนลู่
.
แต่ถ้าจะพูดถึงกล้ามเนื้อที่ออกหล่ะ วิ่งที่ไหนดีที่สุด เรื่องนี้มีการแบ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม
.
กลุ่มแรกบอกว่า วิ่งบนลู่เนี่ยสบายกว่า แค่ก้าวขาไปข้างหน้าและส่งแรงผลักไปข้างหลัง ก็แค่นั่น ง่ายออก ไม่ต้องมาวิ่งต้านแรงลม โดดแดด อย่างข้างนอก ถนนก็ไม่ต้องดู เรียบราบแน่นอน ไม่มี surprise
.
อีกกลุ่มบอกว่า วิ่งบนลู่นี่เราต้องวิ่งตามเพสที่ตั้งไว้นะคะ จะมาผ่อนหนักเป็นเบา เมื่อเราต้องการไม่ได้ สปีดตั้งไว้ยังไง จะเหนื่อยแค่ไหน ก็ต้องกวดขาสู้ไป
.
ล่าสุด มีวิจัยจากตาอยู่ เอ้ย ไม่ใช่สิ! วิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐ อเมริกา (university of Virginia, USA) ลงทุนตั้งกล้องจับความเร็ว และใช้ลู่วิ่งที่สามารถหาค่าแรงต้านและแรงกระแทกได้ เพื่อเปรียบเทียบกับการวิ่งข้างนอก
.
ได้ความว่า
.
วิ่งบนลู่และวิ่งข้างนอกมีความต่างนะ โดยเฉพาะ องศาการหมุน และแรงดันต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำนวน biomechanics (ศึกษาแรงและผลของแรง) แล้วสรุปไว้ใน วารสาร Medicine & Science in Sports & Exercise 2008 ว่าโดยรวมแล้ว หลังจากคิดนู่นนี่นั่นแล้ว วิ่งบนลู่หรือวิ่งนอกลู่ ไม่ต่างกันมากหรอก แต่ละอย่างมีผลดี ผลเสียของมันเอง ขึ้นอยู่กับตัวเราว่า เราต้องการเอาอะไร ต้องการเลี่ยงอะไร
.
การวิ่งบนลู่เนี่ยดีสำหรับสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องข้อต่อ(joint) หัวเข่า อะไรต่างๆ ลู่เนี่ยจะนุ่มนวลกว่าวิ่งบนพื้นถนน คือถ้าเข่าไม่ดีอยู่แล้ว เทรนบนลู่จะนุ่มกว่า ทำให้เราเทรนได้มากกว่าพื้นปกติหน่อยนึง แรงกระแทกจะไม่เท้าพื้น ต่อให้พื้นยางด้วย
.
แต่ในเมื่อวิ่งบนลู่ไฟฟ้ามันง่ายกว่า เราก็ไม่มีกล้ามเหมือนเวลาเทรนบนพื้นถนน ไม่ได้ความแกร่งและอึดของกล้ามเนื้อ (specific muscular endurance) เพราะเราไม่ได้เทรนตรงความลาดชัน องศา ความไม่แน่นอนของพื้น เดี๋ยวแตก บุบ โป่ง ลาด มองด้วยตาเปล่าบางที่ไม่เห็นหรอกนะ แต่จะมารู้สึกได้นะคะ ถ้าเราบาดเจ็บแล้วต้องเดินนะ โห รู้ทันทีเลยพื้นตรงไหนเอนเอียง นิดเดียวก็รู้ เนี่ยตรงเนี้ยที่เราไม่ได้ตรงนี้จากลู่ไฟฟ้า
.
แต่ความต่างมันเยอะไม๊ ไม่หรอกค่ะ ไม่ได้มากขนาดนั้น บางคนแนะนำว่าให้ เซ็ตความชันของลู่ไปที่ 1% เพื่อทดแทนความแตกต่างตรงนี้ ถ้าทำแล้วสบายใจก็ทำ ส่วนตัวไม่คิดว่าต่างมากนัก
.
แต่ถ้ามีงานแข่งนะคะ ก็ไม่ควรที่จะวิ่งแต่บนลู่ ให้ลงมาซ้อมบนถนนด้วย เพื่อจะได้คุ้นกับสภาวะที่ไม่แน่นอน แรงต้าน แรงดัน แรงผลัก แรงโยกข้างนอก จะได้ไม่ตกใจตื่นโลกในวันแข่ง ซ้อมให้คุ้นไว้ย่อมดีกว่า
.
สรุปว่า ทุกคนให้ความสำคัญในปัจจัยต่างๆไม่เท่ากัน บางคนไม่ชอบอากาศร้อน ลู่ไฟฟ้าเนี่ยก็จะสะดวกกว่าจริงๆ ยิ่งถ้ามีอยู่ที่บ้านอีกนะ จะเทรนเมื่อไหร่ก็ได้ ตี2 ตี5 สะดวกสบายสารพัด อยากวิ่งได้วิ่ง ไม่ต้องหวั่นสายตาใคร (นี่คิดเผื่อไปถึงคนขี้อายที่คิดจะรอให้ผอมลงก่อนถึงจะออกไปวิ่งให้ใครชม) นะคะ
.
แต่ ด้วยความราบรื่นของลู่วิ่งไฟฟ้าเนี่ย ทำให้เราไม่พัฒนาสร้างกล้ามเนื้อการทรงตัว (stabiliser muscles) เหมือนอย่างที่วิ่งข้างนอกยิมที่พื้นไม่ความสม่ำเสมอ ราบเรียบ แต่เราทำ functional training เสริมได้ ไม่ยาก ยังไงนักวิ่งก็ต้องทำอยู่แล้วค่ะ จะวิ่งข้างในข้างนอก บนสวรรค์ นรก ยังไงก็ต้องทำ เพราะวิ่งอย่างเดียวมันไม่พอ
.
ข้อดีของการวิ่งข้างนอก ก็ตรงกันข้ามกับลู่วิ่งเลย แรกๆอาจจะเจ็บปวดกล้ามหลังจากวิ่งมากกว่าหน่อย แต่พอต่อไปเมื่อเริ่มพัฒนาสร้างกล้ามเนื้อที่ช่วยการทรงตัวแล้วก็จะดีขึ้น แต่ถือว่าเทรนทีเดียวเลย วิบากกว่าวิ่งลู่นิดๆ แต่น่าเบื่อน้อยกว่า มีอะไรมอง เบี่ยงเบนความสนใจเยอะแยะ ไม่งั้นก็จะมาน้่งหมกมุ่นกับความเหนื่อยของเราเอง
.
ส่วนแรงกระแทกเนี่ยเยอะกว่าลู่แน่ๆ แต่เดี๋ยวก็ชิน ปรับได้ คือถ้าเอาแกร่ง ให้วิ่งข้างนอก ถ้าต้องการประคบประหงมร่างกาย วิ่งบนลู่ในยิม แล้วไปโชว์พาวงานวิ่งเลย ก็ทำได้นะคะ ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ (แต่ก็อยากให้ออกมาข้างนอกนะ ครั้ง 2 ครั้งก่อนวิ่งงานก็ยังดี)
.
วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าเราชะลอความเร็ว ผ่อนช่วยไม่ได้นะ นอกจากปรับความเร็วกันเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย อันเนี้ยน่ะโหด
.
สรุปว่าตอบปัญหาให้ไม๊เนี่ย
.
เปล่า ไม่ได้มาจะตัดสินใจให้นะคะ แค่ชี้ข้อดีข้อเสียให้ไปเลือกกันเอง
.
เราต้องการอะไรนี่ เราตอบได้คนเดียวนะคะ คนอื่นไม่เกี่ยวเนอะ เทรนเน่อร์ก็ไม่เกี่ยว
.
ไปและ เดี๋ยวมาใหม่นะคะ (มีใครหานักวิ่งในรูปเจอบ้าง)

Ref: The Science of Running: How to find your limit and train to maximize your performance by Steve Magness

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *