อุปนิสัยใดที่ทำให้เราปวดหลัง!

โรคยอดนิยมค่ะ ปวดหลัง ปวดกันตั้งแต่หลังตอนบนที่เกิดจาก หลังงอ คอยื่น (bad posture) จนหลังตอนล่างจากท่าออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง นั่งมาก หรืออะไรอีกมากมายเลย แต่นี่เราไม่นับบาดเจ็บจากโรคภัย หรืออุบัติเหตุนะคะ
.
วันนี้ขอพูดเรื่องอุปนิสัยที่ไม่ดีที่ทำให้เกิดการปวดหลังมากกว่า ถ้าเปลี่ยนได้ จะได้พยายามระวังและปรับเปลี่ยนกันซะนะคะ

1. ออกกำลังกายไม่พอ หรือไม่ออกเลย
.
เสร็จ! การไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหตุหลักสาเหตุนึงเลยที่ทำให้เราปวดหลัง
.
เมื่อปีที่แล้ว University of Sydney ได้ทำการทดลองให้อาสาสมัครที่ออกกำลังกายน้อย แต่มีอาการปวดหลังที่ไม่เกี่ยวกับการบาดเจ็บร้ายแรง ทดลองทำ strength training สำหรับหลัง ปรากฎว่า กว่า 45% ของอาสาสมัครมีการการปวดหลังน้อยลงหรือหายสนิท อีก 35% อาการปวดหลังมาจากสาเหตุอื่นหรือบริเวณอื่น อีก 20% เป็นอาการของโรคแทรกซ้อน
.
แต่ 45% ที่หายนี้ นับว่าดีมากเลยนะคะ เกือบครึ่งเลยทีเดียว เพราะอย่าลืมว่า หลังเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดที่หนึ่งของร่างกาย อะไรก็เกิดขึ้นได้ค่ะ

2. ออกกำลังกายแบบฟอร์มผิด
.
ถึงแม้ว่าเราควรจะทำ core exercise เพื่อช่วยรักษาโรคปวดหลังส่วนใหญ่ การออกกำลังกายโดยผิดฟอร์ม ผิดท่าจะทำให้เสี่ยงต่อการปวดหลังได้ ถ้าใช้น้ำหนักเวทที่หนักไป ผสมกับการออกกำลังกายแบบผิดฟอร์ม
.
ทางที่ดีที่สุดคือ ออกกำลังกายแบบที่ยังไม่ใช้น้ำหนักก่อน ใช้น้ำหนักตัว (bodyweight) จนกระทั่งฟอร์มถูกแล้ว จึงค่อยใช้น้ำหนักค่ะ อย่ารีบ ไม่คุ้มกัน เพราะถึงแม้ว่า จะใช้น้ำหนัก แต่ range of motion แย่ ก็ไม่ได้ผลเต็มที่หรอก นอกเหนือไปจาก มีอาการปวดหลังเพิ่มขึ้นแล้

3. นั่งทำงานแบบวางท่า (posture) แย่
.
ข้อนี้น่าจะเดากันได้ นั่งงอหลังทำงานหลายชั่วโมง เป็นสาเหตุหลัก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหลัง
.
การนั่งทำงานที่ถูกต้องแบบคร่าวๆนั้น ข้อศอกควรจะสูงกว่าข้อมือที่พิมพ์แป้นพิมพ์ ตอนบนของจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา นั่งตัวตรง หลังตรง และพยายามอย่าไขว่ห้างจนติดเป็นนิสัย

4. นอนนิ่ง พยายามไม่ขยับเวลาปวดหลัง
.
โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน ถ้าปวดหลัง ปวดเอวจากกล้ามเนื้อ จะเป็นภาวะที่ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก่อให้เกิดความเจ็บ ปวด และอาจเป็นอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรังได้
.
สิ่งที่คนชอบทำกันเยอะมากก็คือ ไม่กล้าขยับตัวทำอะไรเลย นี่คือนอกจากว่าบาดเจ็บร้ายแรงที่หมอสั่งให้พักนะคะ (ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ก็ควรหยุดอ่านและไปพักเดี๋ยวนี้เลยเชียว) จริงๆแล้วเราควรจะพยายามเคลื่อนไหวค่ะ เดินก็ยังดี แต่ก็ระวังการนั่ง ยืน เดิน นอน การยกของ ก้ม เงย ให้ทำให้ถูกท่า เช่น แทนที่จะก้มลงหยิบของที่พื้น ก็ให้นั่งลงหยิบขึ้น หรือหยิบของในท่า deadlift นั่นคือจะดีมากคืองอเข่า เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง (engage core) และเกร็งสะโพกมาที่จุดศูนย์กลางลำตัว (pelvic tilt)
.
พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่พอจะทำได้ เพราะยิ่งไม่เคลื่อนไหว อาการปวดจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

5. วิ่งยาวโดยไม่ทำ strength training
.
สาเหตุจริงๆแล้วส่วนใหญ่มาจากก้นที่ไม่แข็งแรงเมื่อก้นของเราไม่แข็งแรงพออย่างที่มันควรจะเป็น หน้าที่ตรงนี้ก็จะไปตกอยู่กับกล้ามเนื้อ Hamstring กับข้อต่อและเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณข้างเคียงแทน รวมทั้งหลังตอนล่างด้วยค่ะ อาการปวดหลังก็จะเกิดขึ้นได
.
ออกกำลังกายพวก squats, straight leg kickbacks and hip thrusters จะช่วยได้นะคะ

6. ไม่ยืด hip flexors
.
iliopsoas หรือ Hip flexor คือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการงอสะโพกมาทางด้านหน้า
.
เมื่อกล้ามเนื้อ iliopsoas ที่มีความตึงตัวมาก ก็จะไปดึงที่กระดูกสันหลังส่วนล่างที่เป็นจุดเกาะต้นของทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้ในคนที่มีอาการตึงรั้งของกล้ามเนื้อตัวนี้มากๆ อาจส่งผลถึงการระคายเคือง หรือกดทับรากประสาทได้อีกด้วย
.
พยายามหาเวลายืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณนี้บ่อยๆ ท่าโยคะที่นิยมกันมากคือ lizard pose และ pigeon pose
.
มายกมือเลย ใครทำข้อไหนบ้างเอ่ย
—————-

อย่าปล่อยให้ rowing machine เดียวดาย

เวลาเดินเข้ายิมที่นี่ สังเกตว่าคนจะไปจ่อ ออกันอยู่ตรงลู่วิ่ง เครื่อง stair climber จักรยาน Elliptical กันเป็นส่วนใหญ่ ตรง rowing machine นี่ว่างมาก ไม่รู้ทำไม
.
ก็เลยจะมาบอกให้ว่า เครื่องนี้นี่เจ๋งนะคะ ถึงคนจะมองว่าเชยก็เหอะ เจ๋งยังไง มาอ่านเลยค่ะ
.
1. ออกกำลังกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย มากกว่าเครื่องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ทุกเครื่อง
.
เครื่องนี้จะทำให้ออกกำลังกล้ามเนื้อช่วงล่างทั้งหมด น่อง hamstrings ต้นขาหน้า ก้น ส่วนกล้ามเนื้อช่วงบนเนี่ยก็มีพวก หน้าท้อง หลังช่วงล่าง ช่วงบน โดยเฉพาะ lats ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหลังที่ใหญ่ที่สุด แขน biceps ไหล่
.
Core เนี่ยจะดีมากเลยค่ะ จริงๆแล้ว เพราะเวลา row ทีจะออกทั้งส่วนหน้า ส่วนหลัง และช่วยให้ช่วงตัวกระชับขึ้นด้วยค่ะ (สาวๆมีเฮ)
.
2. ได้ประโยชน์ทาง แอโรบิค
.
จะแปลให้อ่าน อย่างชัดเจนว่า แอโรบิคเนี่ยคือ ออกกำลังกายแบบ ความแรงตำ่ (low intensity) ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกิน 20 นาที โดยใช้อ็อกซิเจนเป็นเชื้อเพลิงในการเผาผลาญ
.
Rowing เนี่ย จะช่วยในเรื่องนี้ได้ดี ช่วยในเรื่องการทำงานของหัวใจ และปอด (cardiovascular fitness) ให้สามารถผลิตและแจกจ่าย ดลือดที่มีอ็อกซิเจนเข้มข้นไปสู่กล้ามเนื้อที่กำลังใช้งานอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ส่วนกล้ามเนื้อก็สามารถนำอ็อกซิเจนไปใช้ในการผลิตพลังงานในการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิผล
.
ทำไมเพิ่มความแข็งแรงใน cardiovascular fitness ถึงดี
.
ก็เพราะว่าช่วยการเผาผลาญไขมันได้ดี ช่วยให้ร่างกายสามารถปั๊มเลือดเข้าไปในระบบหมุนเวียนของกระแสเลือดได้ดี ก็ทำให้หัวใจแข็งแรง และช่วยในเรื่องความเครียด ความหดหู่เศร้าหมองได้ จริง!
.
Rowing เนี่ยมันไม่ใช่การออกกำลังกายแบบ ที่เราต้องอุ้มน้ำหนักตัวเองทำไปด้วย (non weight bearing machine) เพราะฉะนั้น เราปรับความเร็วได้ ให้เราออกแบบ aerobic ไปได้นานๆ เพื่อสุขภาพได้ค่ะ
.
3. ได้ประโยชน์ทาง Anaerobic
.
แอนาแอโรบิค คืออะไร คือการออกกำลังกายแบบหนัก เพื่อช่วยพัฒนาในด้าน ความแข็งแกร่ง (strength) ความเร็ว (speed) และพลัง (power)
.
แต่เนื่องจาก ระบบแอนาแอโรบิค แปลว่า “without air” เราก็สามารถปรับพลังการดึง การถีบตัว และความเร็วแรง ให้เราออกกำลังกายอยู่ในโซนนี้ได้ ซึ่งก็จะอยู่ได้ประมาณ 2 นาทีต่อ ช่วง interval
.
การ row. จะใช้กล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ คือ ขา และ หลัง ดังนั้น เมื่อเราใส่พลังเข้าไป ก็จะช่วยในเรื่องการพัฒนาใยกล้ามเนื้อกระตุกเร็วด้วย (fast twitch muscle)
.
4. เป็นเครื่องที่ไม่สร้างความเครียด หรือความกดดัน (stress) แก่ร่างกาย
.
การนั่ง row เนี่ย ถึงแม้ว่า เราจะใช้ range of movement ทั้งหมดทั้งตัวและหัวใจ แต่เนื่องจากว่าเรานั่ง ดังนั้นข้อเท้า เข่า สะโพก หลังส่วนล่างและกระดูกสันหลังจะไม่ค่อยกระทบกระเทือน หรือโดนแรงกระแทกมาก ดังนั้นจึงเป็นเครื่องที่ใช้ได้ในวงกว้าง ทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่คนที่พึ่งหายจากการบาดเจ็บมา หรือพึ่งมาเริ่มออกกำลังกาย
.
5. สะดวก รวดเร็ว ทันใจ ได้ผลแรงหรือเบา ตามความต้องการ
.
เหมือนโฆษณาเลย แต่เป็นความจริงนะคะ เพราะว่าเราได้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ได้ในเวลาเดียวกัน ออกกล้ามชุดใหญ่ก็แปลว่าเผาผลาญไขมันมากกว่าชิ้นเล็ก การออกเพื่อสุขภาพก็ง่ายกว่า ทำทีเดียวดลยทั้งตัว คุม heart rate ได้หมด จะทำแบบ HIIT interval ก็ได้ แบบแอโรบิคก็ได้ ทำเพื่อวอร์มอัพก็ได้ คูลดาวน์ก็ได้ คุมได้หมด
.
ต่อไป เข้ายิมแล้วเลี้ยวเลยนะคะ ไม่ต้องไปต่อคิวลู่วิ่ง เรามั่นใจๆ สวยๆ หล่อๆ ไปเลย
.
ไป row กันค่ะ

ปวดหลัง! ไม่ได้แก้ที่หลังอย่างเดียว

มนุษย์ทำงานทั้งหลาย ที่นั่งนานๆ ส่วนใหญ่จะมีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็งสะสมต่อเนื่องกัน ซึ่งพอนาน ๆ เข้า ไม่ได้รับการยืดเหยียดเลย ก็จะเกิดเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ก้อนนี้เนี่ยคือ ที่เค้าเรียกกันว่า trigger point

.
หรือบางทียกน้ำหนัก แล้ว ไม่มีการยืดเหยียดได้พอเพียง ก็จะเกิด Trigger Point ขึ้น
.
อาการก็จะประมาณปวดลึกๆ แรกๆอาจจะปวดเฉพาะเวลานั่ง ต่อมาก็จะค่อยๆลามไปเป็นการปวดแบบตลอดเวลา นักยกเวทก็จะไม่สามารถยกน้ำหนักโดยมี range of motion เต็มที่และสุดได้เพราะมันติด ก้อน trigger point เนี่ย การยกนำ้หนักพอไม่สุดก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล้ามก็ไม่ใหญ่
.
ที่เป็นหนักๆนี่ อาจเกิดปัญหาโครงสร้างของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ไม่อยากจะขู่
.
ทีนี้เนี่ย ปัญหาคือ เจ้าตัว trigger point เนี่ยมันเป็นตัวหลอกล่อเรา เพราะบางทีเวลาเราปวดจุดนึง แต่จริงๆแล้ว trigger point เราหรือต้นตอของปัญหานี้ มันอยู่อีกจุดนึง คล้ายๆกับ ปวดหัวเพราะเจ็บไหล่ นั่นก็ เพราะว่าเรามี ก้อน trigger point นี้อยู่ที่ไหล่ แต่กว่าเราจะรู้ เราไปหลงนวดขมับอยู่นานเลย
.
การเจ็บปวดของหลังตอนล่างก็เช่นกัน บ่อยเลยการปวดเกี่ยวเนื่องมาจาก กล้ามเนื้อหลังขา ที่เรียกว่า hamstrings นั้นตึงมากเกินไป
.
การนวดหลังก็เป็นเพียงแค่ช่วยบรรเทา หลังจากนั้นไม่นานอาการปวดเมื่อยสามารถกลับมาเป็นได้อีก เพราะจุด Trigger Point ยังอยู่ ไม่คลายไปซะที
.
วันนี้ ตั้งใจจะเขียนเรื่องปวดหลังที่ไม่ได้เกิดจากโรคกระดูกแต่เกิดจาก office syndrome คือนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ ตลอดเวลา ไขว่ห้าง นั่งแล้วนั่งเลย แปะ
.

จะงงไม๊ถ้าบอกว่า สาเหตุหนึ่งนั้นมา จาก กล้ามเนื้อต้นขาหลัง ที่เรียกว่า hamstrings ตัวดี
.
นักวิ่งส่วนใหญ่ เข้าใจและไม่ประหลาดใจหรอกเวลาที่ ต้นขาหลังตึง แต่บางทีไม่ใช่นักวิ่งแล้วมาตึงเนี่ย งง
.
Hamstrings นี่ทำงานหนักนะคะ แทบจะเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานเกินตัวมากเลย แค่เรายืนตรงๆนะคะ กล้ามเนื้อตัวนี้ก็ต้องทำงานหนักแล้วค่ะ เพราะมันจะต้องอยู่ในสภาวะที่เกร็งแบบควบคุมตัว แบบที่เรียกว่า eccentric contraction เพื่อควบคุม ไม่ให้ลำตัวเราพับลงไปข้างหน้าจากสะโพก และยังควบคุมการก้าวขาไปข้างหน้าเวลาเดิน แล้ววันนึงเราเดิน เรายืนกี่ชั่วโมง
.
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring muscles) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อกลุ่ม 3 มัด คือ (ขอจับเรียนหนังสือแพล๊บ)


biceps femoris จุดเกาะเร่ิมจากกระดูก Ischium (กระดูกก้น) และกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก (Fibula)ทําหน้าท่ีเหยียดต้นขาและงอเข่า
.
กล้ามเนื้อ semitendinosus และ semimembranosus หัวของกล้ามเนื้อนี้ เริ่มตั้งแต่ส่วนล่างของกระดูกเชิงกราน ลากยาวผ่านระหว่างจุดข้อต่อของสะโพก กับจุดข้อต่อของหัวเข่า โดยเป็นกล้ามที่ติดอยู่กับกระดูกขาส่วนล่าง ด้วยกายวิภาคนี้ แสดงให้เห็นว่า กล้ามเนื้อ semitendinosus และ semimembranous ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ยกขาส่วนล่างขึ้นทางด้านหลัง (โดยมีหัวเข่าเป็นจุดหมุน) เท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการยืดตัวของสะโพกด้วย
.
แล้วการที่กล้ามเนื้อ hamstrings นี้ตึง นี่มันเกี่ยวกับหลังยังไง
.
ลองนึกภาพดูนะคะ พอกล้ามเนื้อต้นขาหลังตึง กล้ามเนื้อ 3 ชิ้นที่มาเริ่มที่สะโพก ก็หดตัวลงเพราะความตึง ทำให้มาดึงสะโพก สะโพกก็ตึง แล้วก็ไปดึงให้กระดูกสันหลังตอนล่าง (lumbar spine) งอเบี้ยวมากตามแรงของมัดกล้ามเนื้อที่ตึง
.
ตัวที่ควรจะเคลื่อนไหวพริ้วได้เนี่ย จริงๆแล้วควรจะเป็นสะโพก ไม่ใช่กระดูกสันหลังไงคะ แต่พอตึงก็ตึงกันหมด แถมมาดึงหลังไปด้วยอีก
.
บางทีที่เราคิดว่า ยืด hamstrings นั้นทำเพื่อขาไม่ให้เมื่อย แต่ผลประโยชน์นั้น เกินกว่าขาแต่มาถึงหลังได้
.
ในทางกลับกัน เวลาตึงมันก็ดึงจากขามาถึงหลังได้เหมือนกันค่ะ
.
แต่การยืดแบบที่ชอบๆทำกัน คือยืนแล้วก้มตัวลงเอามือแตะพื้น จริงๆแล้วเป็นการยืดที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เพราะท่านี้ไม่ใช่ว่า ง่ายสำหรับทุกคน โดนเฉพาะคนที่กล้ามเนื้อ hamstrings ตึงสั้น .
.
การที่เราพยายามจะแตะพื้นให้ได้นั้น อาจจะเสี่ยงต่อ ดิสค์ ของกระดูกสันหลังตอนล่าง (Lumbar discs) เพราะเราจะพยายามแตะพื้น ด้วยหวังว่าจะยืดกล้ามเนื้อต้นขาหลัง แต่บางครั้งเราทำด้วยการ แอ่นโก่งหลังลงมา แต่ไม่ได้ทำตรงกล้ามเนื้อสะโพก เพราะกระดูกสันหลังเราโดนดึงไปอีกทางอยู่เพราะกล้ามเนื้อบางที่ตึงหดสั้นอยู่ ดิสค์ก็แยกออกหรือบิด
.
จริงๆแล้ว มีท่ายืดกล้ามเนื้อ hamstring เยอะแยะทั่วไปนะคะ แต่มีอยู่ท่านึง ที่ช่วยในเรื่องความตึง ความอ่อนตัวและ ความคล่องตัว (mobility) ของสะโพก
.
สะโพกยืดหยุ่น พริ้วเท่าไหร่ หลังก็ไม่เจ็บเท่านั้น
.
ท่าที่ว่านั้นคือ Seated Hamstring Stretch จะช่างบรรเทาอาการเจ็บของหลังตอนล่าง ที่เกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาหลังตึง
.
ขั้นตอนที่1: นั่งบนพรม หรือเสื่อโยคะ แข็งแต่สบาย แบบนั้น หลังตรง งอขาและนำเข่ามาจรดหน้าอก
นาบหน้าท้องไปบนหน้าขา(ต้นขา)
.
ขั้นตอนที่2: มือจับเท้าทั้งสองข้างมั่นๆ และเช็คว่าสะโพกตรง pelvis และกระดูกสันหลังนาบขนานกัน และวางอยู่บนหน้าขา
.
และค่อยๆเลื่อนเท้าออกไป ทีละนิด เท้าที่จะเลื่อนออกไปได้ ตลอดเวลาต้องมั่นใจและพยายามอย่าให้หน้าท้องหลุดจากหน้าขา


ท่านี้ยาก ทำได้แค่ไหนก็ทำแค่นั้น ตึงมากก็เลื่อนเท้าไปได้น้อย จับเท้าให้มั่นอยู่นะคะ และสำคัญเหลือเกินที่ตั้งแต่ต้นจนจบเนี่ย เราใช้หน้าขารองรับหน้าท้องและหลังตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มก้มตัวเลยค่ะ เพราะการยืดจะได้มาจากสะโพกจริงๆ ไม่ใช่เพราะเป็นคนตัวอ่อน หลังอ่อน
.
อวัยวะทีขยับอย่างเดียวในการยืดแบบนี้คือขาค่ะ
.
ยากนะคะทำแบบหน้าท้องแนบ แล้วยืดhamstrings และก้นเนี่ย
.
อดทนทำนะคะ จะได้หายปวดหลัง

ปวดหลัง ยืดอย่างไรดี

มี Swiss ball ลูกเดียว ท่าเดียว ยืดได้ทั้งหลัง อก และหน้าท้อง

เริ่มจากนั่งลงบน Swiss ball แล้วค่อยๆเลื่อนให้ลูกบอลไปอยู่ที่หลังช่วงล่าง แล้วค่อยๆเดินเท้าออกไปขากท่านั่ง ให้เหยียดเท่าที่ต้องการ ถ้าเหยียดสุดได้ก็สุดเลยนนะคะ แขนก็ค่อยๆไต่ออกไปตามพื้น จนเหยียดสุดเลย หรือจะแตะพื้นใว้เบาๆตามภาพก็ได้ค่ะ

แช่ใว้ในท่านี้ประมาณ 30 วินาทีนะคะ