ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ

วันนี้มาเขียนเรื่องหนัก ร่าเริงกันมาหลายวันแล้ว มาๆๆๆๆ มาเรียนหนังสือ!
.
ถึงเป็นผู้หญิง แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ค่ะ เพราะว่าบางทีผู้หญิงจะสังเกตอาการของผู้ชายได้ดีกว่าผู้ชายเองค่ะ พวกเราเซ้นซ์ดีค่ะ แหะ แหะ.. ไม่หรอกคือ มันมีผลกระทบโดยตรงกับเราด้วยหลายเรื่องเลยทีเดียวเชียว ถ้าเรารู้ไว้ก็ไม่เสียหลายหรอกค่ะ
.
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (เรียกสั้นๆว่า ฮอร์โมน T) นั้น เป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย และอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชายนะคะ ทำหน้าที่กระตุ้นร่างกายให้แสดงลักษณะความเป็นชาย รักษากล้ามเนื้อและมวลกระดูก การสร้างเชื้ออสุจิ และความต้องการทางเพศ เมื่อมีอายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเพศชายนั้นจะลดลงตามธรรมชาติถ้าต่ำมากๆ ก็สามารถมีผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจค่ะ

การที่ฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำนั้น มีสาเหตุหลายประการนะคะ ตั้งแต่การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการในรุ่นอายุนี้ อ้วนความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุน ….คือ โรคของคน ‘วัยรุ่นตอนปลายมากๆ’ ทั้งสิ้นเลยนี่นะ

อาการมีอะไรบ้าง

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง
เหนื่อยง่าย หงุดหงิด เศร้าหดหู่ง่าย
ร้อนง่าย เหงื่อออกง่ายมาก
น้ำหนักขึ้น ลงพุง กล้ามน้อยลง
ผมร่วงง่ายมาก
คุณผู้ชายอาจจะมีอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียว หรือมากกว่าก็ได้นะคะ เมื่อรู้สึกสงสัยตัวเอง ก็ไปหาหมอนะคะเจาะเลือดตรวจดู

นอกจากพบหมอแล้ว เราก็อาจจะช่วยรักษาตัวเองด้วยวิธีง่ายๆได้ดังนี้นะคะ
.1. วิตามินดี
วิตามินหลายตัวก็สำคัญต่อ เทสโทสเตอโรน นะคะ แต่วิตามินดี ได้รับการรับรองจาก WHO แล้วว่า มีความสัมพันธ์กันกับฮอร์โมนชนิดนี้โดยตรงค่ะ
.
มีการวิจัยที่ออกมาเมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง พบว่าเมิ่อทำการทดลอง กลุ่มชายที่ขาดวิตามินดี หรือมีวิตามินดีระดับต่ำกว่า 20 ng/ml มีค่าฮอร์โมน free T ต่ำ และมีค่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen- ฮอร์โมนเพศหญิง) สูงค่ะ ชายเหล่านี้จะมีไขมัน (body fat) สูง กล้ามน้อย และมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และระบบการสืบพันธุ์ต่ำกว่าชายที่มีระดับวิตามินดีสูงกว่าค่ะ
.
และกลุ่มชายที่มีวิตามินดีเพียงพอ คือ มากกว่า 30 ng/ml จะมีกล้ามมากกว่า ไขมันต่ำ และมีฮอร์โมน free T สูงกว่า สุขภาพก็ดีกว่าด้วยค่ะ
.
มีงานวิจัยมารองรับงานวิจัยนี้ ตีพิมพ์ในวารสารที่เกี่ยวกับวิทยาต่อมไร้ท่อ (การศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกายคน) ว่าด้วยเรื่องการทดลองให้ชายกลุ่มที่มีค่า free T กินวิตามินดีทุกวันเป็นเวลา 1 ปี 3,000iu – 5,000iu ต่อวัน ปรากฎว่าชายกลุ่มนี้มีค่า free T สูงขึ้นถึง 20%
.
วิตามินดี ช่วยในเรื่องการระงับหรือป้องกัน กระบวนการเปลี่ยน (aromatization) ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสโตรโลน ให้เป็นฮอร์โมนเพศหญิง เอสโทรเจน เพราะเมื่อเอสโทรเจนมากเกินไปในตัวผู้ชายก็อาจทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
.
การป้องกันการขาดวิตามินดี
.
ก่อนอื่นเจาะเลือดดูก่อนว่าขาดวิตามินดีจริงหรือไม่ คนปกติควรมีระดับวิตามินดีในเลือดมากกว่า 20 ng/mL แต่ถ้าเป็นโรคกระดูกพรุนควรมีระดับวิตามินดีในเลือดมากกว่า 30 ng/mL ค่ะ
.
ร่างกายเราจะได้รับวิตามินดีได้จาก 2 แหล่ง คือ การสังเคราะห์ของร่างกายจากแสงแดดประมาณ 80% และจากอาหารประมาณ 10-20%
.
วิตามินดี มี2 ชนิดนะคะ คือ
.
–วิตามินดี 2 (vitamin D2) หรือ ออร์โกแคลซิเฟอรอล (ergocalciferol) หรือ แคลซิฟีรอล (calciferor) ที่เปลี่ยนได้มาจากสารเออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ที่สัมผัสกับแสงแดด
.
–วิตามินดี 3 หรือ โคเลแคลซิฟีรอล (Cholecalciferol) ก็มีอยู่ในอาหารพวกเนื้อสัตว์
.
อาหารที่มีวิตามินดีชนิดต่างๆ ก็มีพวกปลาแซลมอน, ปลาทู, ปลาทูน่า, น้ำมันตับปลา, ไข่, เห็ดหอม, นม, โยเกิร์ต, และเมล็ดธัญพืช อาหารจำพวกเนื้อสัตว์มักจะเป็น vitamin D3 (cholecalciferol) ส่วนอาหารจากพืชมักจะเป็น vitamin D2 (ergocalciferol) ค่ะ
.
ถ้าจะทานวิตามินดีเสริม ถ้าทานมากเกินขนาด ก็อาจทำให้มีระดับวิตามินดีมากจนเกิดพิษได้ จากการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้มากเกินไป และก็มียาบางชนิดที่มีผลขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น ยากันชัก, ยาที่ลดการดูดซึมไขมัน ดังนั้น ถ้ากินยาอะไรอยู่ ควรจะปรึกษาหมอก่อนนะคะ ว่าเรามีทางเลือกอย่างไรบ้า
.
ปริมาณของวิตามินดีที่เราควาจะกินเสริมนั้นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน แต่ในงานวิจัยของสถาบันการแพทย์อเมริกันได้แนะนำระดับสูงสุดที่ปลอดภัย สำหรับผู้ใหญ่ คือ 0.025mg และสำหรับคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 0.01mg ค่ะ

2. Zinc
.
มีความสัมพันธ์โดยตรงเลยค่ะระหว่าง zinc กับ ฮอร์โมน testosterone มีการทดลองมาตั้งแต่ปี 1996 ว่า ให้กลุ่มชายกลุ่มนึงที่มีค่าฮอร์โมน T ในเกณฑ์ปกติ มาเลี่ยงอาหารที่มี zinc เป็นเวลา 5 เดือน ผลคือ ระดับฮอร์โมน T รวมตกลงมา 50% และในขณะเดียวกัน ในระยะเวลา 5เดือนนั้นก็ให้ zinc กับกลุ่มชายที่มีอายุมาก ที่มีปัญหาฮอร์โมน T ต่ำ ปรากฎว่า หลังจาก 5 เดือน ค่าฮอร์โมนขึ้นสูงถึง 2 เท่าเลยค่ะ
.
Zinc นี่นอกจากจะช่วยเรื่องฮอร์โมนนี้แล้ว ยังตามไปช่วยในเรื่องฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องการเล่นกีฬา (athletic performance hormones) ฮอร์โมนเติบโต (growth hormone) อีกด้วยค่ะ
.
ผลกระทบอื่นๆที่มีผลต่อสุขภาพเมื่อเรามีระดับ zinc ในร่างกายตำ่ ก็จะทำให้ตัวรับ(receptors) ฮอร์โมนเอสโตรเจน สูงขึ้น และ ตัวรับ ฮอร์โมน androgen (ฮอร์โมนเพศชาย) ต่ำลง และกระบวนการเปลี่ยน (aromatization) ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสโตรโลน ให้เป็นฮอร์โมนเพศหญิง เอสโทรเจน สูงขึ้นด้วยค่ะ คล้ายๆก้บเวลาขาดวิตามินดีเลย
.
Zinc เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อย ดังนั้นไม่ควรทานเกินวันละ 40 มิลลิกรัม/วันค่ะ อาหารที่มี Zion สอดแทรกอยู่ก็มีพวกเนื้อสัตว์ ไข่ เนย ถั่ว หอยนางรม โดยเฉพาะหอยนางรมจะมีZinc มากเป็นพิเศษ ประมาณ 25 มิลลิกรัม/ตัว เลยทีเดียวค่ะ
.
ถ้าไม่กินเนื้อสัตว์ อย่าหวังพึ่ง zinc ที่มาจากถั่ว และเมล็ดธัญพืชนะคะ เพราะในพืชจะมีสารที่เรียกว่า phytates จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นได้ตามปกติค่ะ

3. Magnesium
.
ถ้าเราได้แมกนีเซียมอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยยกระดับฮอร์โมน T และสร้างกล้ามได้ค่ะ เพราะว่า แมกนีเซียมจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของ antioxidant (สารต้านอนุมูลอิสระ -สารที่ช่วยป้องกันหรือช่วยชะลอการเกิด “ออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นตัวทำให้เราแก่เร็ว ริ้วรอยมากขึ้น ป่วยง่าย) ลดอาการอักเสบ(inflammation) รักษาสมดุลย์ของฮอร์โมนของนักกีฬาด้วยค่ะ
.
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการทดลองโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ นักกีฬาและคนทั่วไป กินอาหารเสริมแมกนีเซียม 750 mg ติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ปรากฏว่าระดับfree T ได้ถึง 26%
.
แมกนีเซียมช่วยในเรื่องการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยให้วิตามินดีในเรื่องการดูดซึมแคลเซียมและการสร้างกระดูก
.
การที่แมกนีเซียมนิยมมากในหมู่นักกีฬาก็เพราะว่าช่วยในเรื่องการหดตัวของกล้ามเนื้อ (muscle contractions) อย่างมีพลังเยอะ
.
ช่วยในเรื่องการนอนนะคะ นอนดี ฮอร์โมนT ก็ดีไปด้วยค่ะ
.
กินวันละ 500 mg ต่อวันเพื่อช่วยรักษาสมดุลย์ของฮอร์โมนมนนักกีฬานะคะ อย่าเกินกว่านี้เพราะจะมีคุณสมบัติเป็นยาถ่ายค่ะ
 4. นอนให้พอ
.
ZzzzzZzz
.
หลังๆนี่พูดเรื่องการนอนบ่อย เดี๋ยวสวนลุมจะโล่งหมด พูดสั้นๆพอนะคะ เดี๋ยวเบื่อกันก่อนว่า ฮอร์โมน T. รวมจะเพิ่มขึ้นเวลานอน เรารู้กันเนอะ หลายโพสต์แล้ว วันๆไล่ให้ไปนอน
.
ไม่..จะบอกว่า อันนี้ข้อมูลใหม่ค่ะ แม้กระทั่งนอนน้อยวันเดียวก็เปลี่ยนการระดับฮอร์โมน T ให้น้อยลงได้แล้วนะคะ นี่คือนอนต่ำกว่า 4.5 ชั่วโมงนะคะ
.
และถ้านอนแค่. 4 ชั่วโมงติดๆก้น 5 คืนก็จะมีระดับฮอร์โมน T ต่ำในตอนเช้า(เป็นเวลาที่ควรจะสูง) และฮอร์โมนเครียด (cortisol) สูงขึ้นในตอนบ่าย(เวลาที่ควรจะต่ำ) ค่ากลูโคสและอินซูลินก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย แปลง่ายๆว่า จะกินเยอะไงคะ
.
ขึ้นเตียงห่มผ้ายังคะป่านนี
5. เลี่ยงน้ำตาล และดูตารางการกินอาหารแบบ GI
(Glycemic index)
.
เวลาที่เราเกิด sugar spike หลังการกินจะไปลดระดับฮอร์โมน T ชั่วคราว ประมาณ 2ชั่วโมงหละงจากซัดของหวานเข้าไปเต็มคราบแล้วค่ะ ลืมตัว
.
แล้วถ้าทำบ่อยๆ (เอ๊ะ! เป็นอะไร ชอบขู่) ความสมดุลย์ของฮอร์โมนก็จะผิดเพี้ยนไปทำให้เกิดโรคฮอร์โมนเพศชายต่ำเรื้อรังค่ะ อ้วนอีกต่างหาก
.
เวลาเราติดของหวาน ยิ่งกินมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเพิ่มระดับความหวานที่เราอยากมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งกินหวาน ยิ่งกินหวานเก่ง วันนึงเรามีโควต้าแค่ 6 ช้อนชาในผู้หญิง และ 9 ช้อนชามนผู้ชายเท่านั้นเองที่จะไม่ทำให้อินซูลินเราแปรปรวนขึ้นๆลงๆ
ไปอ่านดูนะคะ เคยเขียนเรื่องนี้ไว้ และมีตัวเลือกแทนของหวานให้ด้วยค่ะ
https://www.facebook.com/Befiteatwell/posts/907811469331440
.
สุดท้ายนี้ อาหารที่มี amino acid แบบมีคุณภาพ จะช่วยให้การผลิตฮอร์โมน T เป็นไปได้ดีขึ้นค่ะ และก็พวกไขมันดี ที่มาจาก ปลา เนื้อแบบ grass-fed (vegetarians ค่อนข้างเสียเปรียบตรงนี้) ถั่ว มะพร้าว นมแบบ organic หรือนมที่มาจาก rice milk, almond milk ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีค่ะ
.
อย่ากลัวคอเรสเตอรอล ตราบใดที่เราคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และคอยดูค่า GI จากตารางค่ะ จำไว้ เราเลือก Low GI ระหว่างวัน นอกจากหลังออกกำลังกายค่ะ
Ref: The Hormone Cure: Reclaim Balance, Sleep, Sex Drive, and Vitality Naturally with the Gottfried Protocol, SARA GOTTFRIED, M.D.

The T Club for Men, Dr. Warren Willey

โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน กินสัดส่วนเท่าไหร่ดี

มาสอนคิดเลขค่ะ ไปหาเครื่องคิดเลขมาเร้วว ให้โอกาส

ร่ำๆจะเขียนมานานแล้วเรื่องอาหารกลุ่มหลักที่จำเป็น แล้วก็มีเรื่องอื่นตัดหน้าเสมอ วันนี้ได้ฤกษ์เขียนซะทีนะคะ ยาวแต่มีประโยชน์ค่ะ นั่งคิดครั้งเดียว ใช้ได้นานเลยนะคะ ที่สำคัญคือ เราจะไม่อยู่อย่างหิวโหย อดอยากอีกต่อไป

คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ ไขมัน คือ สารอาหารในกลุ่มที่ให้พลังงานต่อร่างกายเป็นหลัก (Macro-nutrients) ที่ทำให้เราดำเนินชีวิตอยู่ได้
.
ส่วน กลุ่ม Micro-nutrients ก็จะมี วิตามิน และ แร่ธาตุ (micro แปลว่า เล็กน้อย–แปลว่าเราต้องการสารอาหาร 2 ประเภทนี้น้อย เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มนึง)
.
ถ้าเรากินอาหารในกลุ่ม macro-nutrients ในปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสม และในสัดส่วนที่ถูกต้อง นอกจากจะมีสุขภาพที่ดีแล้ว เราก็จะอิ่มนานขึ้น หิวน้อยลง และก็น้ำหนักลดลงด้วยค่ะ
.
ย้ำว่าเราต้องการสารอาหาร 3 อย่างนี้ เพราะว่ามีตารางลดความอ้วนทั่วไปที่พยายามจะให้ตัดหรือลด ตัวใดตัวหนึ่งออกไป ไม่ว่าจะคาร์โบไฮเดรตหรือไขมัน ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว และก็จะเป็นโรคขาดสารอาหารในที่สุด หลังจากนั้นก็ลงเหวไปเรื่อยๆเลยนะคะ
.
ขู่ฟอด ฟอด เลย
.
เรามาทำความเข้าใจคร่าวๆกันก่อน ว่าทำไมเราถึงต้องการพลังงานจากทั้ง 3 ตัวนี้ และทำไมตัวใดจะแทนที่อีกตัวหนึ่งไม่ได้
.
.
โปรตีน
.

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ จริงๆแล้วร่างกายคนเราก็สามารถสร้างโปรตีนในรูปของกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non essential) เราจึงต้องกินโปรตีนที่เรียกว่า essential เข้าไปเสริม

.

ในคนปกติทั่วไปที่ไม่ได้เล่นกล้ามหรือเล่นกีฬาต้องการโปรตีนเพียงแค่ 0.76 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งจะต่างจากนักกล้าม หรือนักกีฬาสร้างกล้ามที่ต้องการโปรตีนอย่างน้อย 1.50 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน
.
.
คาร์โบไฮเดรต
.
ถ้าต้องการเล่นกล้าม หรือเล่นกีฬาเป็นประจำ เราต้องการคาร์โบไฮเดรต 4-6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อเป็นพลังงานในการออกกำลังกายที่มากไปกว่าการใช้ชีวิตประจำวัน
.
คาร์โบไฮเดรตมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ให้พลังงานเร็ว เรียกว่า simple carbohydrate ก็จะเป็นพวกแป้งขาว ข้าวขาว น้ำตาล ควรจะกินก่อนหรือหลังออกกำลังกายเท่านั้น เพราะย่อยง่าย ให้พลังงานเร็ว
.
ส่วนคาร์โบไฮเดรตอีกแบบนึง คือ complex carbohydrate คือ พวกย่อยยากกว่า ให้พลังงานช้า อิ่มนาน ก็จะมีพวกข้าวธัญพืช ขนมปังโฮลวีท และผัก
.
ผักเนี่ยคนมักจะเข้าใจผิดว่ามีคุณสมบัติเป็นไฟเบอร์ อย่างเดียว จริงๆแล้วคือ คือคาร์โบไฮเดรตค่ะ แต่เป็นแบบ complex ให้พลังงานช้า แต่อิ่มนานกว่าแป้งขาว เราจึงไม่ควรที่จะกินผักหลังออกกำลังกายเพื่อหวังว่าจะไปทดแทนไกลโคเจนที่เสียไประหว่างออกกำลังกายค่ะ แต่ไปกินระหว่างวันทุกมื้อหรือในมื้ออื่นๆค่ะ
.
กลับมาเรื่อง ปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อ
.
ถ้าต้องการจะลดความอ้วน หรือไม่ใช่คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็ควรจะลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต ลงเหลือ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว
.
แต่ถ้าสังเกตดู คาร์โบไฮเดรตก็ยังมากกว่าโปรตีนกว่าครึ่ง (โปรตีนสำหรับคนที่ไม่ออกกำลังกาย เราต้องการแค่ 0.76 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
.
เพราะว่า หัวใจ ตับ สมอง และกล้ามเนื้อต่างต้องการพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพื่อที่จะทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้นเราจึงต้องการคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่สูงกว่าปริมาณของโปรตีนและไขมัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็ตาม
.
.
ไขมัน
.
ร่างกายเราต้องการไขมันที่ดี ‘เน้น’ ที่ดี เพื่อดูดซึมวิตามิน หรือ micronutrients บางชนิด และไขมันยังช่วย ปกป้องอวัยวะภายใน และ เซลส์ต่างๆด้วย .
ไขมันยังเป็นแหล่งพลังงานเวลาที่เราขาดสารอาหารจาก คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
.
แต่ถ้าเรากินไขมันแบบ saturated และ trans fats มากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันสูง
.
แต่รวมๆนะคะ UN Food and Agriculture Organisation และ WHO ได้กำหนดขอบเขตไขมันที่เราควรกินต่อวัน อยู่ที่ประมาณ 20% -35% ของพลังงานอาหารทั้งหมด
.
ไขมันที่กินนั้น ก็ควรจะมาจากไขมันที่ดี (unsaturated fat) ซึ่งเป็นไขมันที่ได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีผลต่อโรคอ้วนและต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็งน้อยกว่าไขมันอิ่มตัว
.
และในขอบเขต 20-35%นั้น 7% ควรมาจาก saturated fat (ไขมันอิ่มตัว) ซึ่งเป็นไขมันที่แทรกในเนื้อสัตว์ นม เนย
.
ที่ต้องมี ไขมันทั้งสองอย่างอยู่ด้วยก็เพราะว่า ในไขมันที่ได้ ทั้งจากพืชและสัตว์ จะประกอบด้วยไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้เสมอ เพียงแต่ในสัดส่วนที่ต่างกันเท่านั้นเอง
.
นอกจากนี้ ไขมันทั้ง 2 ชนิดก็ยังมีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่ด้วย มีแต่ Transfat ที่อยู่ในเค้ก คุ้กกี้อะไรต่างๆนี่แหละค่ะ ที่เลวบริสุทธิ์จริงๆ ไม่มีดีปน
.
.
การคำนวน
.
เมื่อเรารู้จักคร่าวๆ (คร่าวแล้วนะ) ว่าสารอาหารหลักนั้นสำคัญอย่างไร เราก็ต้องมาคำนวนหาค่า BMR (Basal Metabolism Rate) หมายถึง หาจำนวนค่าแคลอรี่ขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในชีวิตแต่ละวัน ในภาวะการดำเนินชีวิตปรกติ ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
.
พอได้ค่า BMR แล้วก็มาคำนวนหาค่าว่า เราเคลื่อนไหวออกกำลังกายมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะคำนวนพลังงานแคลอรี่ ที่เราต้องการในแต่ละวัน จะได้ไม่กินเกินความต้องการ
.
.
สูตรหาค่า BMR
.
จะบอกก่อนว่าการหาค่า BMR มีหลายสูตรนะคะ ที่ทำงานใช้สูตรนี้ แล้วก็ลองใช้สูตรนี้คำนวน มีความรู้สึกว่าสูตรนี้ไม่ให้ค่าที่สูงเกินเหตุ หรือต่ำเกินไปค่ะ และคำนวนด้วยการใช้ อายุ เพศ ความสูง และ เผื่อvariation ในส่วนต่างๆด้วยค่ะ
.
(Edit) เข้าไปในลิ้งค์นี้นะคะ จะคำนวนค่าBMR ให้เราเลยง่ายดีค่ะ
http://www.active.com/fitness/calculators/bmr
.
แล้วก็นำค่า BMR นั้นมาหากิจกรรมหรือความ activeของเรา ง่ายๆเลยคือ เลือกมาข้อนึงที่ตรงกับเรา แล้วคูณตัวเลขเข้าไป
.
x1.2: ไม่ค่อยขยับตัว ไม่ออกกำลังกาย
x1.375: ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาเบาๆ อาทิตย์ละ 1-3 วัน
x1.55: ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หนักไป ไม่เบาไป อาทิตย์ละ 3-5 วัน
x1.725: ออกกำลังกายเยอะกว่าคนปกติ อาทิตย์ละ 6-7 วัน
x1.90: ออกกำลังกายระดับนักกีฬา หรือทำกิจกรรมใช้แรงงานเยอะทุกวัน
.
เลือกเอา เราเป็นแบบไหน เช่น
.
หญิงคนเดิมนี้ เป็นคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3-5 วัน: 1742 X 1.55= 2700 แปลว่าเราต้องการใช้พลังงานพื้นฐานในการดำรงชีพ รวมกับการออกกำลังกายแล้ว คือ ต้องกินให้ได้ 2700 kcal ต่อวัน
.
.
สัดส่วนของ อาหารหลัก 3 อย่างของแต่ละบุคคลก็จะมี
.
สูตรที่ 1
.
คนที่ออกกำลังกายน้อย สัดส่วนที่กินคือ
.
–50% คาร์โบไฮเดรต
–25% โปรตีน
–25% ไขมัน
.
สัดส่วนนี้จะใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ทั่วไป เพราะมีปริมาณสัดส่วนที่พอดีตามความต้องการขั้นพื้นฐานค่ะ
.
เราก็ต้องไปเทียบจำนวนแคลอรี ต่อกรัมของ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ต่อกรัม เพื่อที่จะไม่ให้เกินจะจำนวนพลังงานทั้งหมดที่เราต้องการต่อวัน
.
⭕️ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 kcal
⭕️ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 kcal
⭕️ ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 kcal
.
สมมุติว่า จำนวนพลังงานทั้งหมดที่เราต้องการคือ 2700 kcal ต่อวัน และไม่ได้ต้องการลดหรือเพิ่มน้ำหนักใดๆ
.
เรามาแปร สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของกลุ่มอาหาร ให้เป็นจำนวนกรัม ในที่นี้เราต้องกิน
.
–50% คาร์โบไฮเดรต
–25% โปรตีน
–25% ไขมัน
.
วิธีคำนวน
.
คาร์โบไฮเดรต: 50% X 2700= 1350
1 กรัม คาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 kcal
ดังนั้น 1350 หาร 4 = 337 กรัม
แปลว่าเราต้องการคาร์โบไฮเดรต 337 กรัม ต่อวัน
.
โปรตีน : 25% X 2700 = 675
1 กรัม โปรตีนให้พลังงาน 4 kcal
ดังนั้น 675 หาร 4 = 168กรัม
แปลว่าเราต้องการโปรตีน 168 กรัม ต่อวัน
.
ไขมัน : 25% X 2700 = 675
1 กรัม ไขมันให้พลังงาน 9 kcal
ดังนั้น 675 หาร 9 = 75กรัม
แปลว่าเราต้องการไขมัน 75 กรัม ต่อวัน
.
เราอาจจะแบ่งกินเป็น 3 มื้อ + ของว่าง หรือ 5 มื้อเล็กๆก็ได้ค่ะ แต่รวมแล้วต้องได้สารอาหารแต่ละกลุ่มเท่าที่คำนวน
.
สูตรที่ 2
.
คนที่อยากลดน้ำหนัก หรือมีรูปร่างแบบ endomorph คือ อ้วนกลมและร่างกายมีความไวต่อน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต มีแนวโน้วที่จะสะสมคาร์โบไฮเดรตในรูปของไขมัน มากกว่าคนรูปร่างแบบอื่น ก็อาจจะต้องลดสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตลง และเพิ่มโปรตีนในสัดส่วน
.
–45% คาร์โบไฮเดรต
–35% โปรตีน
–20% ไขมัน
.
สูตรที่ 3
.
ใครออกกำลังกายหนัก หรือมีรูปร่างแบบผอมแห้ง (ectomorph) สัดส่วนก็อาจจะเป็น
.
–60% คาร์โบไฮเดรต
–20% โปรตีน
–20% ไขมัน
.
ทั้งนี้ลองปรับลดหรือเพิ่มตามที่เหมาะกับตัวเรานะคะ
.
ละลายมาง่ายสุดแล้วเนี่ย
ปวดหัว! ขอลาไปนอนสงบสติอารมณ์ก่อนนะคะ

—————-

Ref: New England Journal of Medicine. Comparison of weight-loss diets with different compositions of fat, protein, and carbohydrates,
Flegal K, Carroll M, Kuczmarski R, Johnson

International Journal of Obesity and Related Metabolic Disorders. Prevalence and trends of overweight and obesity in the US population using standardized international definitions. Int J Obes Relat Metab Disord 1998;22:39-47.

Is Total Fat Consumption Really Decreasing? USDA Center for Nutrition Policy and Promotion.Huang Z, Willett WC, Manson JE, et al.

Annals of Internal Medicine. Body weight, weight change, and risk for hypertension in women. Ann Intern Med 1998;128:81–8.

Willett WC, Leibel RL. The American Journal of Medicine. Dietary fat is not a major determinant of body fat. Am J Med 2002; 113 Suppl 9B:47S–59S.
—————-

จับคู่อาหาร ให้อิ่มนาน

ต่อเนื่องจากสัมภาษณ์ เมื่อวันก่อน เรื่องอาหารเช้า วันนี้เลยมาเขียนเพิ่ม ว่ากินอะไร คู่กับอะไร ถึงจะไม่หิวบ่อย หรือลดค่า GI ของอาหารนะคะ
.
เราจับคู่กันได้หลายแบบนะคะ ตามวัตถุประสงค์ ของเรานะคะ ย้ำก่อนว่า วันนี้แบบลด GI อาหาร ให้อิ่มนาน ดังนั้นถ้าใครมีปัญหาเรื่องการย่อยอาหารอยู่แล้ว หรือระบบการย่อยอาหารมีปัญหา เราต้องจ้บคู่อีกแบบนึงนะคะ วันนี้ ขอแบบอิ่มนานค่ะ
.
พอไม่หิวบ่อยเราก็ไม่ต้องกินบ่อย ยกเว้นติดน้ำตาล อันนี้อีกประเด็นนะคะ คิดก่อนว่าหิวจริง หรือหิวปลอม ท้องอิ่มแต่ใจอยากนี่อีกหัวข้อนะคะ
อย่ามั่วน้า
.
มาๆดูกันนะคะ ว่าอาหารชนิดไหน ที่กินด้วยกันแล้วอิ่มดี
.
• แป้งคาร์โบไฮเดรตแบบ Whole Grains กับโปรตีน
.
อิ่มนานเพราะว่า เส้นใยอาหาร (fibre)จากธรรมชาติ มีส่วนช่วยทำให้รู้สึกอิ่มมากขึ้น และเมื่อมาผสมกับโปรตีนแล้วจะช่วยลดการตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าการกินคาร์โบไฮเดรต ล้วนๆ เดี่ยวๆ
.
ทั้งนี้เพราะว่า โปรตีนจะช่วยดึงให้การย่อยสลายของคาร์โบไฮเดรตเป็นไปอย่างช้าลง ซึ่งก็คือการควบคุมระดับการหลั่งฮอ์โมนอินซูลินทางอ้อม นั่นเอง
.
ฮอร์โมนอินซูลินเนี่ย ถ้ามีการหลั่งมาก ซึ่งส่วนใหญ่ ก็เพราะน้ำตาลในกระแสเลือดมาก เมื่อตกก็ตกแรงเลยค่ะ (blood sugar crash)
.
โปรตีนดีๆก็มีพวกไก่ ปลา เนยถั่วแบบต่างๆเช่น peanut butter almond butter raw nuts cottage cheese แบบไขมันน้อย ชีสแบบไขมันน้อย โยเกิร์ตแบบไร้ไขมัน เต้าหู้
.
กินพร้อมๆกับ ขนมปังแบบ whole grain ข้าวแดง ข้าวแบบธัญพืชแบบต่างๆ ก็ได้ค่ะ
.
• ผลไม้กับโปรตีน
.
กินด้วยกันแล้วจะให้ความรู้สึกอิ่มมากกว่ากินผลไม้อย่างเดียว เพราะว่าผลไม้มีส่วนประกอบที่เป็นน้ำและใยอาหาร (fibre) ประกอบกับโปรตีนซึ่งถ้ากินพร้อมกัน จะไปทำให้กระบวนการย่อยสลายของผลไม้ยาวนานขึ้น
.
ตัวอย่างอาหารก็มีพวก smoothie ทำจากผลไม้โยเกิร์ต หรือ เต้าหู้ หรือจะเป็น cottage cheese หรือ low-fat cheese กินกับผลไม้ หรือเป็นพวกถั่ว 1 กำมือ ประมาณ 6-8เม็ด กับผลไม้ หรือ ผลไม้แห้ง(น้ำตาลน้อยๆนะคะ) ที่ชอบคือแอ๊ปเปิ้ลเขียวจิ้มเนยถั่ว (peanut butter) ค่ะ อร่อย
.
ได้ไปหลายไอเดียเลยนะคะ เวลาหิวยามบ่าย
.
ผักกับโปรตีน
.
เหมือนกันกับ 2 กลุ่มแรกนะคะ ผักก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ และยังมีกากใยอาหารเยอะเลย
.
ตัวอย่างอาหารก็มีพวก แครอทหรือผักกรอบๆจิ้ม hummus หรือ สลัดใส่ไข่ต้มจะใส่ไก่ด้วยก็ได้นะคะ ไข่คนกับสลัดผักก็ได้ค่ะ
.
ผสมกลุ่มอาหาร 3 กลุ่ม
.
การผสมอาหารจาก 3 หมวดหมู่ คือ แป้งธัญญาหาร โปรตีน และผลไม้ หรือผักจะอิ่มสุดนะคะ เพราะทั้ง 3 กลุ่มนี้จะมีระยะเวลาการย่อย อาหารต่างกันนะคะ ผัก/ผลไม้เร็วสุด ได้น้ำตาลด้วย ตามด้วย แป้งแบบwhole wheat แล้วก็โปรตีน หลังสุด เราก็จะลากได้ยาวทีเดียวค่ะ
.
ตัวอย่างก็มีพวก อาหารเช้าประเภท oatmeal ผสมกับ ถั่วอัลมอนด์ กับ บลูเบอร์รี่ หรือผลไม้ไทยอะไรก็ได้ค่ะ ส้ม องุ่น กล้วย อะไรก็ว่าไป หรือเป็นอาหารทก็เป็นพวก แซนด์วิชไก่ ใช้ขนมปัง whole grain ใส่ผักกาด มะเขือเทศ อะโวคาโดด้วยนะคะ อะโวคาโดนี่อิ่มนานมากค่ะ
.
พวกข้าวก็เป็นพวก ข้าวแดงธัญพืช กับ เต้าหู้ และ ผักย่าง (grilled vegetables)
.
ได้ไอเดียไปเยอะเลย เอาไปปรับใช้นะคะ จับคู่ให้ถูกนะคะ แค่นี้เอง ไม่ยากเนอะ
.
ป.ล. แอบบอกว่า ถ้าใครกินเวย์อยู่ กิน fish oil พร้อมกันจะช่วยลดระดับ insulin และทำให้อิ่มนานนะคะ

Ref: “The Journal of Nutrition”; The Effects of Fat and Protein on Glycemic Responses in Nondiabetic Humans Vary with Waist Circumference, Fasting Plasma Insulin, and Dietary Fiber Intake; Elham Moghaddam, Janet A. Vogt and Thomas M. S. Wolever; 2006

Whey! จะเลือกกินอย่างไร?

วันนี้จะมาเขียนเรื่องโปรตีนเสริม ในฐานะที่เป็นเทรนเนอร์และนักโภชนาการ คำถามที่เจอบ่อยที่สุดคำถามหนึ่งคือ จะกินโปรตีนแบบไหน เมื่อไหร่ยังไง เพราะโปรตีนเสริมในท้องตลาดมีอยู่หลากหลายจนตาลายไปหมด
.
สำหรับบางคนการกินโปรตีนเสริมก็มีประโยชน์ และสะดวก แต่ที่จะเขียนในวันนี้ไม่ได้มาเชียร์ให้ทุกคนต้องไปซื้อโปรตีนเสริมมากินนะคะ เพียงแต่จะมาบอกว่า โปรตีนเสริมที่มีอยู่ในตลาดนั้น มีประเภทไหนบ้าง ดีเลวแตกต่างกันอย่างไร และถ้าจะกิน ควรกินอย่างไรตอนไหน
.
เวลาจะไปซื้อโปรตีนเสริมมากิน ทุกยี่ห้อก็อวดสรรพคุณกันสุดตัว ใครจะไปซื้อถูก
.
แต่สำหรับคนที่จะกิน เวย์โปรตีน แต่ยังงงๆ อยู่ อ่านแล้ว ก็ไปตัดสินใจเอาเองนะคะ
.
Whey คืออะไร
.
คือผลผลิตทางอ้อมจากนม ประมาณ 20%ของโปรตีนที่พบในนมก็คือ เวย์โปรตีน
ประโยชน์: ประกอบไปด้วยกรดแอมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) อยู่ครบ และมีกรดแอมิโนชนิด branched-chain amino acid (BCAA) ได้แก่ leucine, isoleucine และ valine ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือสร้างเนื้อเยื่อเพิ่มเติม
.
เวย์ช่วยในเรื่องเพิ่มความแข็งแรงและขนาดของกล้ามเนื้อ (เมื่อผ่านการออกกำลังกายที่ทำลายกล้ามเนื้อมา เช่น ยกเวท หรือวิ่งออกกำลังกายเกิน 1 ชั่วโมง)
.
ด้วยความที่ว่าเวย์สามารถย่อยสลายง่ายกว่าการกินอาหารประเภทโปรตีนจากสัตว์ และมีความเข้มข้นในโปรตีนสูงในปริมาณการกินที่น้อยกว่าอาหารประเภทโปรตีน เวย์จึงเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดได้เร็ว ช่วยในเรื่องป้องกันการย่อยสลายตัวของกล้ามเนื้อ
.
บางทีเราจึงเห็นคนจิบเวย์ระหว่างออกกำลังกาย หรือยกเวทหนักๆ คือช่วยยื้อเวลาออกไปหน่อย ให้เราอึดยกได้นานขึ้นอีกนิด
.
ส่วนดีที่ทำให้เวย์มีเอกลักษณ์โดดเด่น แต่คนไม่ค่อยพูดถึง ทั้งๆที่สำคัญต่อกล้ามเนื้อพอๆกับโปรตีนเลย คือมีสารวิตามิน แคลเซียม และสารที่เรียกว่า กลูตาไธโอน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อของอวัยวะทุกส่วนโดยการต่อต้านอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
.
เนื่องจากเวย์เป็น by product ของการผลิตชีส จึงมีสารอาหารประเภทแคลเซียม (โดยตัดไขมันและแล็คโตสที่ได้จากนมไปแล้วบางส่วน) และยังมีแร่ธาตุพวกแม็กนีเซียม ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม และ ซิงค์ (zinc) เวย์จึงมีประโยชน์ต่อกระดูกซึ่งเราใช้เยอะในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายแบบยกเวท
.
มีวิจัยออกมาล่าสุดว่า การกินแคลเซียมในระดับสูงมีผลต่อการลดความดันในเลือดให้ต่ำลงด้วย
.
สิ่งที่น่าสนใจมากคือ งานวิจัยนี้คือ การที่กินแคลเซียมสูงนั้นจะช่วยลดไขมันด้วยการเพิ่มเมตาโบลิซึ่ม (metabolism) และเพิ่ม lipolysis (การสลายตัวของไขมัน) และลดการรวมตัวของไขมัน (lipogenesis) อีกด้วย (ชอบตรงแคลเซี่ยมสลายไขมันเนี่ยแหละ)
.
เวย์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด จะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

++ Whey concentrate
.
เวย์ประเภทนี้รุ่นแรกเลย จะมีส่วนผสมของโปรตีนอยู่ ค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 30-40% และมีส่วนผสมของแล็คโตส ไขมัน และโปรตีนสังเคราะห์
.
ปัจจุบัน เวย์ประเภทนี้ มีการปรับปรุงปริมาณโปรตีน ให้มีเพิ่มขึ้นถึง 70-80% และมีการลดระดับไขมัน และแล็กโตส ลงไปแล้ว มากน้อยแล้วแต่ยี่ห้อนะคะ
.
แต่คนส่วนใหญ่จะยังติดความคิดเก่าๆว่า เวย์ชนิดนี้ด้อยกว่า อ้วนกว่าเวย์ชนิดอื่นเหมือนสมัยแรกๆ ซึ่งไม่จริงเลย
.
เวย์ชนิดนี้อาจจะมีโปรตีนน้อยกว่า แบบ isolate whey มีไขมันมากกว่า (ซึ่งไขมันนี้ก็มีประโยชน์ในหลายเรื่อง ตั้งแต่การย่อยสลาย ช่วยให้อิ่มนาน และบางคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน) และมีแล็กโตสจากนมมากกว่าเวย์แบบ isolate
.
แต่ถ้าไม่ได้แพ้นม เวย์ชนิดนี้ก็สามารถใช้ได้ดี ตามจุดประสงค์ของละคน
.
++Whey isolates
.
เวย์ชนิดนี้มีโปรตีนเข้มข้นอยู่ 90-96% และแยกเอาแล็คโตส คาร์โบไฮเดรตและไขมันออกไปมากกว่าหรือเกือบทั้งหมด จึงทำให้เหลือแต่โปรตีน มากกว่าไขมันสูตรง่ายๆทั่วไปเลย เวลาดูข้างกล่องคือ โปรตีนมากแค่ไหน ไขมันก็จะมีสัดส่วนน้อยลงเท่านั้น นี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างโปรตีนแบบนี้ กับแบบ concentrate
.
++ Ion-Exchange whey
.
เวย์ชนิดนี้จะทันสมัยขึ้นมาหน่อย ตรงที่แยกสารละลาย ที่ทำหน้าที่ในการย่อยแลคโตสและไขมันออก โดยใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวกระตุ้น หลังจากนั้น ก็กรองเอาส่วนของเวย์ออกมาอย่างเดียว
.
มาถึงตอนนี้เราอาจจะตื่นเต้นไปว่า เป็นเรื่องที่ดี ที่ได้แต่โปรตีนหลักๆเลยจากเวย์โดยไม่มีไขมัน แต่อย่าได้คิดแค่นั้นนะคะ เพราะ เวย์มีประโยชน์มากกว่าเป็นแหล่งโปรตีน การทดแทนกล้ามเนื้อก็มากกว่า การอัดอะมีโนโปรตีนเข้าไป
.
เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตเวย์ชนิดนี้ใช้ไฟฟ้าในการแยก ส่งผลให้โครงสร้างบางส่วนของกรดอะมิโนในเวย์ถูกทำลายไปด้วย กรดอะมิโนในเวย์ชนิดนี้จึงเอาไปใช้ประโยชน์ได้เพียง 80-85% เท่านั้น (ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะระบุว่ามีโปรตีนอยู่ถึง 97-98%. ก็ตาม แต่การตรวจสอบทั่วไปจะวัดแต่ค่าไนโตรเจนที่อยู่โปรตีน ทั้งๆที่ส่วนประกอบบางส่วนหายไประหว่างกระบวนการการผลิต- คือเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์นั่นเอง)
.
ส่วนผสมอย่างอื่นที่อยู่ในเวย์ที่มีประโยชน์ แร่ธาตุ เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส ก็เหลืออยู่เพียง 2-3%
.
ตามความเห็นส่วนตัว ถ้าจะให้เลือกระหว่าง เวย์แบบ isolates กับ ion exchange แล้ว ถึงแม้โปรตีนแบบ ion exchange จะมีค่าโปรตีนที่ระบุใว้ข้างกล่องสูงกว่า isolates แต่เพื่อแลกกับสารอาหารที่เสียไป ไม่ค่อยคุ้มนะคะ
.
++ Hydrolyzed whey
.
เกิดจากการนำเวย์โปรตีนแบบ concentrate หรือแบบ isolate มาผ่านกระบวนการ hydrolysed ทำให้โมเลกุลของเวย์โปรตีนที่ได้มีขนาดที่สั้นลงมาก หรือที่เรียกว่า เปปไทด์(Peptide) แต่ข้อเสียของกระบวนการนี้คืออาจต้องสูญเสียวิตามินย่อยๆไปจนหมด
.
ด้วยขนาดโมเลกุลที่เล็ก ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด ทำให้เวย์โปรตีนชนิดนี้มีราคาแพงที่สุดในท้องตลาด
.
กรดอะมิโนเสริมตัวอื่นๆนอกเหนือจากเวย์
.
ก็จะมีพวก BCAAs, Casein,Glutamine, Leucine และอื่นๆอีกมากมาย
.
พวกนี้จริงๆแล้วไม่จำเป็นเท่าไหร่ ถ้าเรากินโปรตีนเพียงพอแล้ว แต่ก็มีบางตัวที่ควรจะพูดถึง และมีประโยชน์มากกว่าตัวอื่น อย่างเช่น
.
++BCAAs
.
ชื่อเต็มๆคือ Branched Chain Amino Acids เป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก ประกอบไปด้วย วาลีน (valine),ไอโซลิวซีน (isoleucine) และ ลิวซีน (leucine)
.
ถ้าเรากิน เวย์โปรตีนอยู่แล้ว ก็จะเห็นว่ามีกรดอะมิโนประเภทนี้เป็นหนึ่งในส่วนผสมรวมอยู่ในโปรตีนเวย์อยู่แล้ว แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และเราจะเลือกกินแบบไหน มีกรดอะมิโน BCAAs มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา
.
บางคนมีร่างกายเดิมเป็นคนที่สร้างกล้ามยาก แขนขายาว ผอม (รูปร่างแบบ ectomorph) ก็อาจจะต้องการ BCAAs ปริมาณสูงหน่อย
.
BCAAs ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า ทำให้การ ฝึกซ้อมกีฬา หรือว่า การออกกำลังกายของเราดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่ยาวนานขึ้น
.
การจิบ BCAAs หรือเวย์ที่มีส่วนผสม BCAAs ในขณะออกกำลังกาย ก็จะทำให้สามารถฮึด ยกเวทเซ็ทสุดท้ายนั้นได้อย่างเต็มที่ หรือนักกล้ามที่ไปวิ่งมาแล้วกลัวกล้ามหาย การกิน BCAAs ก่อนจะมาเวทต่อ ก็จะช่วยชะลอการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ
.
และด้วยความที่ BCAAs แตกตัวได้ง่ายและเข้าไปในกระแสเลือดได้เร็ว มันก็จะถูกส่งไปยังกล้ามเนื้อ ป้องกันการย่อยสลายของโปรตีนในกล้ามเนื้อ
.
เราสามารถที่จะกิน BCAAs เพิ่มจากที่มีอยู่ในเวย์หากเราเป็นคนผอมมากโดยธรรมชาติและสร้างกล้ามยาก โดยจะกิน BCAAs ทันทีก่อนออกกำลังกายและระหว่างออกกำลังกาย
.
++ Casein
.
เป็นโปรตีนเสริมที่เข้มข้นกว่าเวย์ อยากอธิบายมากกว่านี้ แต่กลัวหลับ เอาเป็นว่า จุดเด่นที่ดีที่สุดของ casein คือ เป็นโปรตีนที่ใช้เวลานานในการย่อยสลาย ซึ่งแตกต่างและนานกว่า เวย์ โปรตีน มาก
.
โปรตีน casein นั้น กว่าจะถูกดูดซึมได้หมดต้องใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมง นั่นคือ มันจะคอยให้กรดอะมิโนอย่างช้าๆเรื่อยๆ ร่างกายก็จะคอยได้รับอาหารเสริมโปรตีนอย่างช้าๆอยู่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับกินระหว่างมื้ออาหารและก่อนนอน
.
เวลาที่ควรจะกินโปรตีนชนิดนี้คือ ก่อนนอน จะได้อิ่มนานและช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อในขณะที่เรานอนหลับ
.
นอกจากนั้นแล้ว มีผลงานวิจัยออกมาว่า ด้วยเหตุที่ว่าโปรตีนชนิดนี้ย่อยยากเหลือเกิน จึงทำให้ metabolic rate ของเราสูงขึ้นระหว่างนอนอีกด้วย
.
ข้อเสียของโปรตีนประเภทนี้คือ ทำให้เกิดลมในกระเพาะได้ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหากับการกินแล็กโตสอยู่แล้ว หรือแพ้นมก็ไม่ควรกิน
.

กินอะไรตอนไหน
.
กฎเดิมยังคงอยู่อย่างที่เราเคยอธิบายกันไว้แล้วนะคะ คือ หลังออกกำลัง กินแป้งขาวหรือไกลโคเจนทันที
.
แต่ที่เราเห็นคนพูดถึงงานวิจัยว่าต้องกินโปรตีนหลังออกกำลังกายน้ัน ส่วนใหญ่เป็นการทดลองวิจัยแบบ fasted training (การอดอาหาร) ซึ่งเป็นช่วงที่นักเล่นเวทต้องการจะลดไขมันไปด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงสั้นๆ เช่นนักเพาะกายช่วงก่อนจะขึ้นเวที
.
แต่วันนี้เราต้องการพูดถึงการออกกำลังกายแบบ fed training ซึ่งเป็นการจัดตารางชีวิตระยะยาว กินให้เป็นนิสัยที่ถูกต้องในระยะยาว เราจึงแนะนำไกลโคเจนก่อนเวย์
.
หลังจากออกกำลังกายและกินไกลโคเจนแล้วภายใน 1 ถึง 3 ชั่วโมง จึงกินเวย์
.
ระหว่างออกกำลังกาย ถ้าต้องการลดอาการ ปวด หรือ DOMS (delayed onset muscle soreness) ก็ควรกิน BCAAs ก่อนหรือ ระหว่างออกกำลังกาย แต่ไม่ใช่หลังออกกำลังกาย เพราะBCAAs นั้นเป็นเพียง กรดอะมิโน เสริม ไม่มีคุณค่าเท่าเทียมกับเวย์
.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
.
มีงานวิจัยหนึ่งทำขึ้นในมหาวิทยาลัยเท็กซัส ให้คนร่วมงานวิจัย 36คนและเข้าโปรแกรมยกเวทไปด้วย (heavy resistance training)ไปด้วย โดยกลุ่มนึงให้เวย์และcasein โดยให้กินเวย์ก่อนและหลังออกกำลังกาย และกินcasein ก่อนนอน อีกกลุ่มนึงให้กินเวย์, อีกกลุ่มให้กิน BCAA และอีกกลุ่มให้กินอาหารเสริมประเภทกลูตามิน (glutamine supplement)
.
ปรากฎว่าหลังจาก 10 อาทิตย์ กลุ่มที่กินผสมระหว่างเวย์ และ casein สามารถลดไขมันได้มากที่สุด เพราะเวย์concentrate ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ caesin ทำให้อิ่มนานและซ่อมกล้ามเนื้อในขณะที่เรานอน
.
เมื่อเรารู้คุณสมบัติของโปรตีนแต่ละตัวแล้ว เราก็เลือกตามที่เหมาะกับเรานะคะ
.
อย่างเดียวที่ขอ คืออย่ากินเวย์แทนอาหาร ให้กินเพื่อเสริมอาหารเท่านั้นค่ะ
.
References

1 Reitelseder, S., et al. (2011). Whey and casein labeled with L[1-13C] leucine and muscle protein synthesis: Effect of resistance exercise and protein ingestion. Am J Physiol Endocrinol Metabol. 300(1):E231-42.

2 Esbjornsson, M., et al. (2010). Reduction in plasma leucine after sprint exercise is greater in males than in females. Scand J Med Sci Sports. In press.