การใช้เครื่องหนีบวัดไขมัน (skin fold calliper)

หลังๆมานี่ได้ยินการ พูดถึงและเปรียบเทียบ ยึดมั่นถือมั่นกันอย่างเอาเป็นเอาตายกับค่า body fat มากกว่าความรู้สึก หรือความเป็นจริงที่เห็นอยู่
.
บ่นกันว่าออกกำลังกายแล้วน้ำหนักขึ้น bodyfat ไม่ลด แต่ใส่เสื้อแล้วสวยขึ้น รู้สึกว่าหุ่นเฟิร์มขึ้น ง่ายๆคือกังวลกับตัวเลขมากกว่าความรู้สึก
.
ไม่อยากให้กังวลว่าออกกำลังกายแล้วน้ำหนักขึ้น เพราะการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี การที่เรามีกล้าม อาจจะทำให้ดูเหมือนน้ำหนักตัวเราเยอะขึ้น หรือไม่ลงเลย แต่การที่มีกล้ามจะทำให้ระบบการเผาผลาญเราทำงานได้ดีขึ้น ช่วยประคองกระดูกทำงานได้ดีขึ้น เนื้อต้วเราจะดูแข็งแรงขึ้น ใส่เสื้อผ้าได้สวยขึ้น น้ำหนักนี่เรื่องเล็ก
.
เอาเข้าจริงๆ เราทำทุกอย่างนี้ก็เพื่อไขมันที่ลดลง ดังนั้น ถ้าจะวัดพัฒนาการ ก็ควรจะวัดในจุดที่เราจะกำจัด ก็คือไขมันนะคะ

เครื่องวัดไขมันที่ตรงที่สุดแล้ว ที่เป็นที่ยอมรับกันคือ การชั่งนํ้าหนักใต้นํ้า (Underwater Weighing หรือ Hydrostatic Weighing) คนที่มีมวลกล้ามมากจะหนักกว่าในน้ำ
.
แต่ถึงแม้ว่าการชั่งน้ำหนักใต้น้ำแบบนี้เป็นวิธีที่ยอมรับกันว่าเป็นวิธีมาตรฐานในการประเมินไขมันในร่างกาย (โดยวัดความหนาแน่นของมวลที่ปราศจากไขมัน เวลาที่ร่างกายอยู่ในน้ำ) ก็ยังไม่แม่นยำเพราะ ความหนาแน่นของ มวลท่ีปราศจากไขมันจะเปลี่ยนแปลงไปตาม เพศ อายุ เชื้อชาติ การเคลื่อนไหว ร่างกาย รวมถึงสภาวะร่างกาย เช่น ภาวะที่ร่างกายป่วย เป็นต้น แถมเครื่องนี้ยังไม่มีขายทั่วไปอีก

ทีนี้มาถึงเครื่องที่พอหาได้ และแม่นยำกว่าการใช้กระแสไฟฟ้า ก็คือ skin fold calliper
หลักการของการใช้วิธีนี้ก็เพื่อที่จะวัดไขมันชนิดที่อยู่ใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat) ในแต่ละจุด แล้วเอามาดูค่าว่ามีสัดส่วนเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับไขมันในที่อื่นๆของร่างกาย
.
การวัดแบบนี้ตามแต่ดั้งเดิมเป็นการวัดเพื่อสุขภาพว่าเรามีไขมันอยู่ที่จุดใดมากเป็นพิเศษ มากไปกว่าการวัดเพื่อความสวยงามอย่างจุดประสงค์ที่เรานำมาใช้กันในปัจจุบัน
.
ส่วนสูตรที่ใช้ในการคำนวณนั้นก็มีมากกว่า 100 สูตรขึ้นไป แต่ละสูตรก็ให้ค่าต่างกันไป
.
ทำไมถึงมีมากกว่า 100 สูตร?
.
เพราะว่าแต่ละสูตรนั้นเหมาะกับกลุ่มคน ที่แตกต่างกัน เช่น เด็กจะเก็บครึ่งนึงของไขมันในร่างกายใว้ใต้ผิวหนัง ในขณะที่ผู้ใหญ่จะเก็บไขมันไว้ในอวัยวะภายในมากกว่าตามผิวหนังขึ้นเรื่อยๆ น่ากลัวนะคะ
.
ดังนั้น สมมติว่าเราวัดค่า body fat โดยใช้เครื่อง skin fold calliper นี้ ได้ค่าออกมาเท่ากันเป๊ะ สัดส่วน เปอร์เซ็นต์ของ bodyfat ของเด็กและผู้ใหญ่ ก็ยังต่างกันอยู่ดีในความเป็นจริง
.
ไม่ใช่แค่อายุและการสะสมไขมันที่ทำให้ต่างนะคะ แม้กระทั่ง เพศ ระดับความฟิต เชื้อชาติ จำนวนค่าbody fat ที่แต่ละคนมี ทำให้ความหนาแน่นของมวล แตกต่างกันไปได้เลย
.
ไม่มีสูตรไหนที่เหมาะกับใคร 100% หรอกค่ะ
.
ทางแก้ก็คือ ใช้ skin fold calliper วัดค่าและจดบันทึกเอาไว้ ถ้าอยากคำนวณ ก็คำนวณโดยที่ไม่ต้องเอาค่านี้ไปเปรียบเทียบกับใคร เอาไว้ดูพัฒนาการของตัวเองก็พอค่ะ
.
จำเป็นต้องเอาค่านี้มาคำนวณหรือไม่ – คำตอบคือ ไม่เลย จดไว้เป็นค่าของแต่ละส่วน แล้วเทียบเอาเองกับตัวเองพอว่าไขมันเราลดไปแค่ไหนแล้ว
.
อย่างที่บอก ผลลัพธ์ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลข แต่เป็นสิ่งที่คนเห็นอยู่กับตามากกว่า ว่าเราฟิต เฟิร์ม หุ่นดี แค่ไหน
.
เข้าใจว่า มันท้อใจ ถ้าเรารู้สึกดีทุกอย่างแล้วตัวเลขบอกอีกอย่าง

วิธีใช้
.
เวลาที่คีบเนื้อขึ้นมาวัด ก็ขอให้วัดภายใน 4 วินาทีที่คีบขึ้นมา ไม่งั้นค่าอาจจะเคลื่อนได้เพราะเนื้ออาจเริ่มเปลี่ยนรูป วัดในเวลาเดียวกันกับที่เคยวัด และอย่าวัดทันทีหลังออกกำลังกายตอนเลือดกำลังพลุ่งพล่านสูบฉีดนี่ไม่ควรนะคะ
.
ทีนี้มาถึงวิธีการวัด
.
ที่ต้องมีวิธีการวัดก็เพราะว่า เราจะได้รู้จุดพิกัดที่จะวัดได้แน่นอนในจุดเดิม ทุกครั้งที่วัด ไม่ใช่วัดแบบซ้ายขวาที ข้อมูลเคลื่อนหมด หาปากกามาจุดตำแหน่งด้วยนะค
.
Skin fold Calliper หาซื้อได้ทั้งแบบที่ให้คนอื่นวัดให้ (ในรูปแบบด้านบน) และแบบที่วัดด้วยตัวเองได้นะคะ (ข้างล่างในรูป) นี่คือตัวอย่างกว้างๆนะคะ จริงๆแล้ว skin folded calliper มีหลากหลายรูปแบบมากค่ะ
.
ก่อนอื่นเลย การวัดให้วัดในข้างที่ถนัดนะคะ ถนัดซ้ายก็วัดซีกซ้าย ถนัดขวาวัดซีกขวาค่ะ วัดจุดละ 3 ครั้งเพื่อหาค่าที่แม่นยำที่สุด ถ้าค่าที่อ่านได้จากการวัดครั้งที่ 1 และ 2 แตกต่างกันมากกว่า 1- 2 มิลลิเมตร ให้วัดซ้ำครั้งที่ 3 โดยรอเวลาให้ผิวหนังกลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนนะคะ ซักนาที สองนาที
.
เวลาวัด ระวังอย่าหนีบกล้ามเนื้อติดขึ้นมาด้วย สะบัดเบาๆก็ได้ค่ะ เวลาใช้มือคีบเนื้อขึ้นมาแล้ว
.
ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ขอให้ใช้สายวัดวัดนะคะ ถ้าบอกกึ่งกลาง แปลว่าวัดจากจุดที่กล่าวถึง ถึงจุดอีกจุด ด้วยสายวัดนะคะ ไม่ให้กะเอาค่ะ

ในอินเตอร์เน็ตมีการวัดหลายจุดมาก แต่วันนี้จะพูดถึงการวัดแบบ 4 จุดซึ่งเป็นหลักการของ Durmin and Womersley
.
1. ต้นแขนด้านหน้า (Biceps)
.
หยิบผิวหนังให้เป็นสันในแนวดิ่ง บริเวณเส้นกลางด้านหน้าต้นแขน ใช้สายวัดวัดจากปุ่มที่หัวไหล่ ลงมาที่ข้อพับข้อศอก งอแขนขึ้น 90 องศาทเพื่อหาจุดพับ แล้วก็ปล่อยแขนเป็นอิสระข้างลำตัว หันฝ่ามือเข้าหาลำตัว เวลาวัด ไม่ต้องเกร็ง หรือเบ่งกล้าม
.
.

2. ต้นแขนด้านหลัง (Triceps)
.
หยิบผิวหนังให้เป็นสันในแนวตั้ง จุดกึ่งกลางระหว่างปุ่มกระดูกหัวไหล่ (Acromion process) และ ปุ่มปลายศอก (Olecranom process)โดยงอข้อศอกขึ้นเพื่อหาจุดปุ่มข้อศอกแต่ไม่ต้องเกร็ง หันฝ่ามือขึ้น วัดด้วยสายวัดจากปุ่มถึงปุ่มนะคะ ดูจุดกึ่งกลาง

3. สะบักหลัง Subscapular
.
ท่านี้ให้ลองไขว้แขนไปข้างหลังดูก่อน เพื่อหาจุดหยิบผิวหนังให้เป็นสันในแนวทำมุมกับกระดูกสะบักหลัง 45 องศา ต่ำกว่า จุดกลางที่เป็นมุมด้านล่าง อย่างในรูป วัดออกมาประมาณ 1-2 ซม.

4. สะโพก/เอว (Supraileac)

หยิบผิวหนังให้เป็นสันตามแนวรอยย่นผิวหนังเหนือ ขอบกระดูกเชิงกราน (iliac crest) จับๆดู นะคะ บริเวณเส้นด้านหน้าของเอว หรือ ถ้าไม่มีเอว ก็คือ ด้านหน้าของ แนวรักแร้ด้านหน้า เวลาเรามองจากข้างหน้า (anterior auxiliary line) ไม่ใช่ตรงข้างตัวด้านข้างนะคะ สงสัยดูรูปเอาดีกว่า โค้ชเอินพูดไม่ยู้เยื่อง!
.
จดบันทึกเอาไว้ดูความเปลี่ยนแปลงทุกๆเดือน หรือ 6 อาทิตย์ กำหนดเอาไว้นะคะ ที่เก่า เวลาเดิม
.
แต่ถ้าอยากจะคำนวนจรืงๆ Durnin and Womersley เค้าก็ทำสูตรคำนวณเอาไว้ให้ มีเวปไซต์ที่คำนวณให้ที่นี่นะคะ

http://www.health-calc.com/body-composition/skinfold-d-and-w
.
โชคดีค่ะ
.
References;Durnin JVGA, Womersley J. Body fat assessed from total body density and its estimation from skinfold thickness: measurements on 481 men and women aged from 16 to 72 years. Br J Nutrition. 1974; 32: 77-9

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *