“FITNESS TAKES TIME.”

แปลมาให้นะคะ ไม่ได้เขียนเอง

ข้อคิดสั้นจากโค้ช
เครดิต: Runnersworld

“FITNESS TAKES TIME.”
—COACH GREG MCMILLAN

McMillan เป็นที่ปรึกษาของนักวิ่งชั้นนำ และนักวิ่งทั่วไปที่ตั้งใจจริง เทรนตั้งแต่นักวิ่งหน้าใหม่จนถึงนักวิ่งที่ qualified ไปโอลิมปิค

เค้าบอกว่านักวิ่งที่มาเทรนกับเค้าเหล่านี้มีอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ พวกเค้าทุ่มเทแรงกายแรงใจ 110% และเมื่อเค้าให้ทั้งหมดแล้ว เค้าต้องการผลลัพธ์ที่คาดหวังด้วย

แต่ McMillan ไม่เห็นด้วยนะคะ บอกว่า ‘ผลลัพธ์หรือ performance จะเกิดจากการเทรนที่มีประสิทธิภาพสูง(optimally) แต่ไม่ใช่เทรนอย่างหนักที่สุด (maximally)’

‘ทั้งนี้เพราะความหมายที่แท้จริงของความแข็งแรง (fitness) นั้นขึ้นอยู่กับ กระบวนการที่ซับซ้อนทางชีวภาพ ไม่ว่าใครก็เร่งไม่ได้’

หรืออีกนัยหนึ่ง วิธีการเทรน สำคัญกว่าจำนวนการเทรน หรือความหนักในการเทรน

เค้ายังบอกต่อไปอีกว่า (ยังไม่จบ)

‘จะสักแต่ว่าเทรนให้หนัก มากๆเข้าเราก็จะบาดเจ็บแล้วก็จะพาลท้อแท้ไปได้ แต่ถ้าเราเทรนอย่างใส่ใจและสม่ำเสมอ เราจะเห็นระดับความฟิตของเราเพิ่มขึ้นอย่างที่เราไม่คาดคิดว่าจะเป็นไปได้’

ทีนี้ วิธีที่จะเทรนจะทำอย่างไร

‘เคารพพัฒนาการของตัวเอง’

‘ทุกคนมีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นฟู (recover) ต่างกัน การเทรนให้วิ่งมาราธอนจะใช้เวลา 12อาทิตย์ หรือจะใช้เวลาเป็นปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างตั้งแต่ อายุ จนถึงความแข็งแรงขั้นพื้นฐาน อย่าได้พยายามที่จะทำตามคนอื่น’

‘วิ่งตามเวลา’

McMillan คิดว่า ‘การเทรนควรเทรนตามจำนวนเวลานาทีแทนที่จะเทรนตามระยะทาง เพราะจะใช้เป็นการวัดความฟิตของนักวิ่งได้ดีกว่าวัดระยะทางเอา อย่างเช่น ปกติวิ่งอยู่ 30นาที เราก็เพิ่มอีก10นาที หรือเพิ่ม long run ขึ้น15-30นาที นั่นจะเป็นการเพิ่มความท้าทายให้กับร่างกายโดยไม่หนักจนเกิดการบาดเจ็บ ถ้าเราฟิตขึ้นเราก็จะวิ่งจบระยะเร็วขึ้น ดังนั้นการเพิ่มเวลาก็เท่ากับเพิ่มระยะทางไปด้วยโดยใช้ความทนของร่างกายเป็นเดิมพัน ร่างกายสามารถทนวิ่งต่อไปอีก 10นาทีที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ไม่ใช่เราสามารถวิ่งเพิ่มอีก 1 กิโลเมตรได้หรือไม่ เราไม่รู้เลยว่าจะวิ่งเพิ่ม อีก 1 กิโลนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่เกินเอื้อมไปเลยในตอนนั้น (ใคนที่เคยวิ่งมาราธอนคงจะจำได้ว่า กิโลสุดท้ายนั้นไกลแค่ไหน)’

‘ถ้าพักไม่พอก็ให้พักเพิ่มต่อไปอีก’

‘ความเหนื่อย หรือเจ็บปวดกล้ามเนื้อจากการวิ่งควรจะหายภายใน วันสองวัน แต่ถ้ายังรู้สึกว่าปวดกล้ามเนื้อ (musculoskeletal pain) ไม่ว่าจะที่เอ็น กระดูก หรือข้อต่ออยู่ น้่นแปลว่าร่างกายยังไม่ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ดังนั้นทางแก้ก็คือ หยุดพักวิ่งต่อไปอีกหนึ่งวัน แล้วหันไปออกกำลังกายโดยใช้ elliptical ว่ายน้ำ หรือโยคะ เค้าเชื่อว่าตัวยาที่ชื่อ ‘พักอีกหนึ่งวัน’ ใช้ได้ผล 99% อย่างน้อยๆ’

‘ฝึกในเวลาที่ร่างกายไม่บาดเจ็บ ย่อมได้ผลดีที่สุดเสมอ ข้อคิดนี้ค่อนข้างจะชัดเจน และถ้ามีสามัญสำนึกก็คิดได้ แต่คนทำตามน้อยมาก’

———————

จบ

มีประโยชน์บ้างรึเปล่าก็ไม่รู้นะเนี่ย แปลมาให้อ่านความเห็นของโค้ชคนดัง อีกมุมมองหนึ่งนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *