ซ้อมวิ่งมาราธอนสำหรับคนเวลาน้อย

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเวลาวิ่งได้เป็นชั่วโมงๆนะคะ งานยุ่งกันเยอะ มีเวลาอย่างมากก็เช้าชั่วโมงนึง เย็นชั่วโมงนึงสำหรับออกกำลังกาย เสาร์อาทิตย์ต้องร้บส่งลูกทำกิจกรรมอีก วิ่งเทมโป้ วิ่งคอร์ท น่ะพอได้ แต่จะวิ่งยาวเนี่ยจะเอาเวลาที่ไหนไปวิ่ง แต่ไปสมัครวิ่งมาราธอนเอาไว้ ทำไงดี ทำไงดี

ไม่มีปัญหาค่ะ

Long run เนี่ยสามารถแบ่งครึ่งได้ค่ะ แบ่งสำหรับวันเดียว หรือ 2 วันติดกันก็ได้นะคะ จริงๆแล้ว นักวิ่งอัลตร้าทำกันเยอะนะคะ เป็นการวิ่งโดยที่ขายังเหนื่อยอยู่จากการวิ่งครั้งที่แล้ว เพื่อที่จะเก็บระยะทาง แต่ร่างกายจะ stress น้อยกว่าจากการวิ่งทีเดียวรวด

การแบ่ง long run ออกไป นอกจากจะทำให้เราวิ่งได้ตามระยะทางที่ตั้งใจสำหรับอาทิตย์นี้แล้ว เรายังวิ่งได้แข็งแรงและฟอร์มดีตลอดทั้งระยะทางทั้งหมดด้วย

คือเวลาเราเหนื่อยมากๆเนี่ย endurance เราก็จะลดลง ฟอร์มเราเริ่มหย่อน หลังเหลิงโกง ขาเริ่มปัด นั่นแหละคือตอนที่เราจะเจ็บ เพราะว่าท่าวิ่งเราต้องถูกต้อง เราถึงจะไม่เจ็บไงคะ (back to basic เลยนี่) แต่พอเราเหนื่อยขาปัด ตัวงอ สะโพกเบี้ยวแล้ว แรงกระแทกกดดันก็จะไปลงในอวัยวะที่ไม่ควรลง อวัยวะส่วนนั้นต้องมารับภาระแทนที่ เพื่อที่จะประคองเราให้วิ่งให้ได้จบตามระยะทาง ก็เจ็บสิคะ

Too much too soon เนี่ย ขยายความได้อีก ก็คือ too much สำหรับ endurance ของเราที่จะรับได้

เอางี้นะคะ ง่ายๆเลย เราเคยวิ่งได้ ประมาณ 15-17 กม. สบายๆ แล้วตารางการซ้อมบอกให้เราวิ่งยาว 25กม คือมันเยอะกว่าที่เราเคยวิ่งได้อยู่ค่อนข้างเยอะนะคะ หรือเราไม่มีเวลาซ้อมนาน ขนาดนั้น ภาระเต็มตัวไปหมด จะทำยังไงดี เราก็สามารถแบ่งออกมา วิ่งครึ่งนึง เช้า และอีกครึ่งนึงเย็น หรือวันรุ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ห่างไปเป็นวันๆนะคะ นั่นไม่ใช่และ

บางทีเราอาจจะพยายามวิ่งไปรวดเดียวตามตาราง นะคะ ใจถึงไง สู้ตาย 25 ก็ 25 มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไปนะคะ โดยเฉพาะนักวิ่งหน้าใหม่ พวกหน้าเก่าเราไม่พูดถึงนะ เราก็อาจจะบาดเจ็บได้ อย่างที่อธิบายไปแล้วว่า พวก secondary muscles คือ กล้ามตัวสำรองที่เคยมีหน้าที่แค่เป็นตัวช่วย ต้องมาทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหลัก เพื่อประคองเราให้วิ่งได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่คุ้นงาน แข็งแรงไม่พออีก เราน่ะอาจจะวิ่งได้ครบค่ะ แต่กล้ามเนื้อตัวช่วยเหล่านั้นสิคะที่จะเจ็บ

การแบ่งครึ่ง long run (หรืออาจจะไม่ครึ่งก็ได้ ตามความสะดวกเลยค่ะ) เราก็จะมีช่วงพักฟื้น (recovery period) แทรกกลางอยู่ แต่ไม่ได้พักมากซะจน long run สองส่วนนั้นขาดสิ้นกันไปเลย คือเป็นเบรคเล็กๆให้หายใจแล้วมาเริ่มใหม่ โดยที่กล้ามเนื้อนั้นยังไม่ fully recovered หรือ พักเต็มที่หายเหนื่อย 100% อะไรแบบนั้น คือยังเหนื่อยอยู่ แต่พักพอเพียงที่จะวิ่งได้อีก 10-20กม โดยที่ฟอร์มไม่หลุด ไม่ตก และเราก็ไม่บาดเจ็บด้วย

หรือบางทีเรามีเวลาที่จะซ้อมแหละค่ะ จะให้วิ่งจริงๆก็วิ่งได้ วิ่งมาหลายงานแล้ว แต่บางทีซ้อม long run มันก็น่าเบื่อนะคะ แบ่งเอา เปลี่ยนแปลงรูปแบบให้ตื่นเต้นเร้าใจบ้างก็ไม่เสียหายอะไรนะคะ

ไม่อยากให้วิ่ง long run จนหมดสนุกไป

ถ้าวิ่งแล้วหมดสนุก เราจะวิ่งได้ไม่นานหรอกค่ะ

เนอะ

hip adductor (กล้ามเนื้อต้นขาด้านใน) ไม่ยืดหยุ่น

วันนี้ไปอ่านรีวิวของ “Journal of Strength and Conditioning Research”

เค้าบอกว่า การที่ hip adductor (กล้ามเนื้อต้นขาด้านใน) ไม่ยืดหยุ่น พอ เป็นตัวการสำคัญตัวหนึ่งเลยที่ทำให้เกิด การบาดเจ็บที่สะโพกได้ ก็จริงนะคะ

มาคิดดูตามหลัก anatomy สิคะ

ร่างกายเราต่อกันหมดนะคะ ช่วงล่างนี่นับจากสะโพกลงมา ถ้าส่วนใดที่บาดเจ็บ หรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ เราก็จะใช้ส่วนอื่นไปช่วย (compensate) อวัยวะส่วนที่เราเอาไปช่วยก็จะพลอยบาดเจ็บตามไปด้วย เพราะว่าถูกใช้งานเกินหน้าที่หลักเดิมๆ

การบาดเจ็บบริเวณสะโพกเนี่ยเป็นตัวการสำคัญเลยสำหรับนักวิ่ง ที่เกิดการบาดเจ็บพวก IT band, เจ็บเข่า ปวดหลัง จนแม้กระทั่งมาถีงบาดเจ็บที่ข้อเท้า

โดยเฉพาะนักวิ่งที่มีอาการปวดเข่านั้น มักจะพบว่ามีกล้ามเนื้อที่ใช้กางสะโพกออกด้านข้าง (Hip Abductor Muscles) ไม่แข็งแรง หรือ ไม่ยืดหยุ่นพอ เพราะ กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ช่วยในเรื่องการทรงตัว เมื่อไม่ได้รับการยืดหลังออกกำลังกายขา เช่น วิ่ง ก็จะเกิดความไม่ยืดหยุ่น (ไม่ flexible) เป็น stress factor หนึ่งที่ถ้าปล่อยใว้แล้วไปออกแรงกระแทกซ้ำ ความไม่ยืดหยุ่นก็จะทำให้ ข้อ เอ็น ต่างๆที่รองรับอยูต่อๆมาเกิดการฉีกขาดและบาดเจ็บได้

งั้นมาเลย.. ยืดกันท่านี้นะคะ หลังวิ่ง ตามภาพเลยค่ะ งอขาเข้าหากัน เท้าประกบกันนะคะ โน้มตัวลงจับเท้า ค่อยๆใช้แขนกดต้นขาลงกับพื้น แช่ใว้ประมาณ 15-30 วินาทีนะคะ

ทำทุกครั้งนะคะ จะเชื่อกันไม๊เนี่ย

Endurance Training

Endurance คือความอดทน การฝีกแบบนี้มีจุดประสงค์ คือ

1. เพื่อให้ฟื้นตัว (recovery) จากการแข่งขันหรือการออกกำลังกายครั้งก่อน

2. เพื่อฝึกendurance หรือความอดทน ในการวิ่งก็คือ ความสามารถในการวิ่งได้ยาวขึ้น ไกลขึ้นเรื่อยๆ

3. การรักษา aerobic fitness และการพัฒนาความสามารถทางด้านแอโรบิค

จุดประสงค์ทั้งสามนี้จะใช้การวิ่งเทรนอยู่ 3 แบบ คือ recovery jog/run, วิ่งยาว และ easy run

1. Recovery Runs

ก็คือ วิ่งช้า (slow jog) ความช้าเนี่ยคือช้ามากๆ เพสเนี่ยแทบจะเรียกว่าเกือบเดินเลย หัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 65%ของmaximum heart rate

บอกตรงๆว่าวิ่งย๊ากยาก ให้ช้าขนาดนี้ แต่ถ้าทำหลังจากแข่งมาราธอนมา หรือเทรนหนักๆมา ก็จะรู้ว่าเป็นเพสที่เหมาะสมแล้ว เพราะว่าจุดประสงค์ของการวิ่งแบบนี้เพื่อแค่ต้องการให้อุ่นเครื่องกล้ามเนื้อ และให้เลือดส่งสารอาหารที่สำคัญไปช่วยเลี้ยงซ่อมแซมกล้ามเนื้อ

เมื่อจุดประสงค์การวิ่งแบบนี้มีแค่นี้ การวิ่งแบบนี้ไม่ต้องวิ่งนานเลย 15-45นาทีตามความรู้สึก ตามความต้องการเลย

2. Long Runs

ทุกคนน่าจะรู้จักในชื่อ LSD หรือ long steady run ไม่ใช่ long slow run อย่างที่หลายคนเข้าใจนะคะ นักวิ่งส่วนใหญ่จะมีการวิ่งแบบนี้ทุกๆ 7-21วัน แล้วแต่ตาราง

จุดประสงค์คือ ฝึกการวิ่งเป็นเวลานานๆ(time on your feet) ฝึกว่าเราจะวิ่งช้าๆไปเรื่อยๆได้นานเท่าไหร่ หรือวิ่งเก็บระยะทางค่ะ ท้าทายตัวเองไปเรื่อยๆ แบบนั้น กรุณาอย่าบ้าเพสนะคะ เพราะฉะนั้นเวลาที่ตารางเค้าบอกว่าเพิ่มระยะ 10-20% เนี่ยเค้าหมายถึงเพสนี้นะคะ ไอ้ที่เราเจ็บกันตูมๆเนี่ยเพราะส่วนใหญ่ไปเข้าใจผิดว่าเพสเร็ว ก็เลยกลายเป็น อย่างที่เค้าเรียกว่า ‘too much too soon’ นั่นแหละค่ะ เอาระยะมาเก็บก่อน แล้วไปฝึกความเร็วกันวันอื่นที่เราวิ่งคอร์ท วิ่งเทมโป้นู่นค่ะ วิ่งคนละแบบก็ฝึกคนละแบบนะคะ ฝึกเร็วก็เอาเร็ว ฝึกระยะทางก็เอาระยะทาง ไม่รวม ไม่รวบตึงค่ะ

ความเร็วของการวิ่งแบบนี้ให้ดูที่ heart rate นะคะ คุมให้อยู่ประมาณ 70% ของ maximum heart rate วิ่งเอาระยะทางเท่านั้นเอง ง่ายๆเลย ไม่ต้องสนใจความเร็ว

การวิ่งแบบนี้ควรจะวิ่งนานๆตั้งแต่ 1ชั่วโมง จนถึง 3ชั่วโมงครึ่ง การวิ่งแบบนี้ควรจะวิ่งช้า ความท้าทายจะไปอยู่ที่ การวิ่งเพสความเร็วสม่ำเสมอ (steady pace) ย้ำว่าสม่ำเสมอนะคะ ตลอดระยะการวิ่ง พยายามหักห้ามใจหน่อยนะคะไม่ให้เร่ง และช้าพอที่จะเพสไม่ตก นักวิ่งอัลตร้าทำกันเยอะค่ะ แต่สำหรับมาราธอนก็มีประโยชน์นะคะ ช่วยเพิ่ม endurance ดีมากเลยค่ะทั้งทางกาย ทั้งจิตใจ ฝึกความอดทนจริงๆ กะเอาความเร็วให้ถูกจุดประสงค์นะคะ สำคัญ

3. Easy Runs

การวิ่งแบบนี้จะเป็นการวิ่งให้ heart rate อยู่ราวๆ 75% ของmaximum heart rate แต่อาจจะไต่ขึ้นไปประมาณ 80 – 85% ตอนใกล้จบ

การวิ่งแบบนี้ควรวิ่งประมาณ 15 นาทีถึงประมาณ ชั่วโมงครึ่ง เป็นการวิ่งที่เร็วกว่า LSD แต่ยังอยู่ในระดับที่มีบทสนทนาได้ คุยได้ การวิ่งแบบนี้บางครั้งจะผสมเข้าไปในการเทรนด้วย เช่น วิ่ง easy run ก่อนเริ่มเทรนเป็นการวอร์มร่างกาย หรือจะใช้การ วิ่งeasy run เป็นการพักระหว่างกลางของsession ระหว่างวิ่งคอร์ท หรือใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการเทรนแบบ progressive (เริ่มช้า และค่อยๆเพิ่มความเร็ว)

หรือวิ่ง easy run อย่างเดียวเลยในวันที่ไม่ได้ต้องการจะฟื้นฟู (recover) หรือเทรนเอาระยะทาง (สำหรับมาราธอน)

3 อย่างนี้เป็นความเหมือนที่แตกต่างค่ะ อย่าอายที่วิ่งช้านะคะ เราดูที่จุดประสงค์ว่าเราวิ่งเพื่ออะไร

การวิ่งเร็วไม่ใช่ทั้งหมดแต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิ่งมาราธอน

วิ่งมาราธอนเสร็จแล้วทำอะไรดี

เดินค่ะ เดินกลับโรงแรมได้ยิ่งดี
เคยเป็นนะคะ วิ่งเสร็จแทบจะจ้างคนอุ้มกลับ หารถไม่เจอ ก็เลยเดินค่ะ แทบตาย แต่ปรากฏว่าไม่ตาย ยิ่งเดินกลับยิ่งดีขึ้น
แปลกมะ

จริงๆแล้วไม่แปลกหรอกค่ะ เพราะการเดินจะช่วยกำจัด lactic acid หลังการวิ่งได้ดีมาก
เพราะว่าหลังวิ่งมาราธอน เซลส์กล้ามเนื้อจะมีการอักเสบ เวลาที่กล้ามเนื้อทั่วตัวอักเสบ ก็จะใช้เวลาประมาณ 2 -4 อาทิตย์ ถึงจะฟื้นตัวเต็มที่
ความต้านทานโรค หรือ immune system ก็จะต่ำ จะเป็นช่วงที่ติดโรคได้ง่ายมากอีกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ nutrition การกินดีอยู่ดีเพื่อซ่อมแทรมส่วนที่สีกหรอของร่างกายเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆในช่วงนี้
จริงๆเคยเขียนไปแล้วแหละ ในเรื่อง การออกกำลังกายหลังมาราธอนเนี่ย แต่อาจจะลืมหรือหากันไม่เจอ วันนี้เลยเอามาให้อ่านกันใหม่นะคะ
2 อาทิตย์แรก : จะเป็นการออกกำลังกายเบาๆ เริ่มจาก วิ่งในน้ำ (pool running), ว่ายน้ำ, ขี่จักยานเบาๆ, elliptical หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า Cross trainer machine, เดิน ทำเรียงตามลำดับนี้เลยนะคะ ทำอย่างละวัน สองวัน

จะสังเกตว่า ว่า การให้เริ่มการพักฟื้นโดยการออกกำลังกายในน้ำ ก่อนเลยเพราะ เป็นการใช้ healing power ของน้ำในการนวดตัว และเป็นการออกกำลังกายแบบ non impact อีกด้วย หลังจากนั้นซักวันสองวันก็ขึ้นมาออกกำลังกายบนบกได้

การขี่จักยานก็เป็นการช่วย hip flexor ให้ได้เคลื่อนไหวมากขึ้นในลักษณะการตั้งตัว คล้ายกับการวิ่ง แต่ยังใช้กล้ามเนื้อหลักคนละส่วนกับการวิ่งอยู่ดี แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยๆเลื่อนระดับมาใช้ เครื่องcross trainer ก็เป็นเครื่องออกกำลังแบบทั้งตัว การเคลื่อนไหวเริ่มใกล้เคียงกับการวิ่ง แต่ก็ยังเป็นแบบ non impact

แล้วหลังจากนั้น ก็ เริ่มเดินออกกำลัง หรือวิ่งเหยาะๆได้ น่าจะประมาณอาทิตย์ที่สอง
อาทิตย์ที่ 3 ถึงจะกลับมาเทรนแบบเบาๆ tempo สวยๆ สั้นๆ แต่อย่าพึ่ง interval หรือ วิ่งคอร์ท
แต่ถ้าจะให้ดี และบังเอิญมีรถไปจ่อรับหลังวิ่งมาราธอน ก็ไม่เป็นไรค่ะ กลั้นอกกลั้นใจ กระโดดตูมลงไปว่ายน้ำเบาๆ ทิ้งๆ หรือเดินชิลๆ เอาความเย็นของน้ำเข้านวดตัว แก้อักเสบเผ็ดร้อนได้ดีค่ะ

Dynamic stretches

ตามคำขอ ช่วงนี้ลงรัวๆๆๆนะคะ จอมบึงกำลังจะมาถึง

ก่อนวิ่งต้องทำอะไรบ้าง มานี่เลยค่ะ ตามรูปเลยนะคะ เริ่มจากบน ซ้ายไปขวานะคะ

1. Chest stretch รูปนี้ใช้ resistance band แทนที่จะใช้ไม้เบาๆนะคะ เขียนเรื่องนี้อย่างละเอียดไปแล้ว ไม่พูดซ้ำนะคะ เดี๋ยวเบื่อกันก่อน หลักการเดียวกันค่ะ แขนชูขึ้นข้างบนประมาณ 45องศา พอเหลือบตาขึ้นมองเห็น ก้าวเท้าไปข้างหน้า ยืดอก แขนเหยียดอ้อมไปข้างหลัง จะได้อกผายไหล่ผึ่ง หายใจสะดวกนะคะ

2. Worrier lunges ทำสลับไป ข้างละ10 ทีนะคะ เป็นการช่วยวอร์ม core muscle สะโพกและข้อเท้าไปด้วยเลยค่ะ

3. Kick back ทำซัก 10-20 วินาทีก็พอค่ะ ท่านี้จะ stretch ทั้ง quads ทั้ง hip flexors เลย

4. Star touch ทำข้างละ 10ทีนะคะ จะช่วยยืด ทั้งhamstring ทั้งก้นเลย วิ่งจะคล่องขึ้นเยอะเลยค่ะ

5. Lateral lunges ทำข้างละ 10 ทีก็พอ ท่านี้จะช่วยยืด และ ทำให้ ก้นและadductor muscle เริ่มตื่นตัวค่ะ เตรียมพร้อมวิ่งค่ะ

6. Toy soldier แตะข้างละ10 ทีนะคะ จะช่วยยืด ก้น hamstring และด้านหน้าของต้นขาค่ะ

7. Running high knees ทำอยู่กับที่ 10-20 วินาทีก็พอค่ะ ท่านี้ยืดตั้งแต่ ก้น ต้นขาด้านหน้า หลังตอนล่าง (ยกสูงขาสูงๆนะคะจะได้โดน) และก็หัวไหล่

8. สองรูปหลังสุดนี้คือ lateral leg swing ค่ะทำให้ดูจะได้เห็นชัดๆว่าswing ผ่านลำตัวเข้ามาด้วยนะคะ ท่านี้ทำให้ดีจะโดนสะโพก ต้นขาด้านใน ด้านนอก ข้างละ10ทีนะคะ

ทำเสร็จแล้ว เดินทางไปออกตัวได้เลยค่ะ

บอกจนหมดตัวแล้ว โชคดีนะคะนักวิ่งทั้งหลาย

จอมบึง ไม่จอมบึง ก่อนวิ่งทำได้ถ้วนหน้าค่า

วิ่ง Tempo , Race pace และการวิ่งเพส

อะไรคือ race pace แล้วมันต่างกับ tempo run อย่างไร แล้ว การวิ่งเพสล่ะ คืออะไร ศัพท์อะไรวุ่นวายไปหมด

การวิ่ง Tempo คือการวิ่งที่เรียกว่าเป็นการวิ่งเบาขนาดหนัก (Comfortably Hard) แต่สม่ำเสมอตลอดทาง คือถ้าเกิดการแรงตกในตอนท้ายของการวิ่งtempo ก็ แสดงว่าเร็วไป ดังนั้นวิ่งเทมโปจึงมีหน่วยวัดตามความรู้สึกที่แตกต่างกันไปตามระหว่างบุคคล คือวิ่งเร็วแต่ไม่ทรมานและไปได้เรื่อยๆ แรงไม่ตกเร็ว สนทนาได้เล็กน้อย ไม่มาก อย่างนี้คือ Tempo หรือดูตาม Heart rate ก็จะอยู่ประมาณ 70-90% ของmaximum heart rate นะคะ

การวิ่งเทมโป จึงเป็นการฝึกให้ร่างกายเคยชินกับการกับระดับปริ่มขอบ เพื่อเพิ่ม threshold ให้ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ คือการวิ่งแบบนี้จะอยู่ในช่วงก่อนที่ร่างกายจะเปลี่ยนจากระบบแอโรบิค (aerobic) ไปเป็นแอนนาแอโรบิค (Anaerobic) เป็นจุดที่ร่างกายเริ่มใช้อ็อกซิเจนเพื่อเผาพลาญกลูโคสเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ในระดับเต็มที่ (Maximum) ที่ใช้อ็อกซิเจน (aerobic zone) ก่อนเข้าสู่การเผาพลาญพลังงานโดยไม่ใช้อ็อกซิเจน (Anaerobic zone)

คือในวันจริงเราต้องการให้เราอยู่ในแอโรบิคโซนให้นานที่สุดนะคะ หัวใจจะได้ดี มีแรง ไม่เป็นตะคริว อะไรต่ออะไร

การซ้อมวิ่งเทมโปจะเป็นการสร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้วิ่งสามารถประคองตัวไปได้ท่ามกลางระดับกรดแลคติกที่สะสมในกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมๆทั้งสอนให้ร่างกายเชี่ยวชาญกำจัดกรดได้เร็ว นั่นเอง

ถ้าเป็นได้อย่างนี้ ในวันจริงก็จะทำให้ผู้วิ่งสามารถประคองเร็วไม่ให้ตกแถมยัง ‘ตามเก็บ’ นักวิ่งที่ค่อยๆร่วงกันไปทีละคนสองคนในตอนท้ายได้อีกด้วย วิ่งมาราธอนเนี่ยเราวัดกันตอนท้ายค่ะ ตอนขาก้าวข้ามเส้นชัย (เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหน้าเลยถ้าตอนออกตัวอยู่ช้ากว่าชาวบ้านเค้านะคะ นักวิ่ง-ไปเก็บเอาตอนท้ายสนุกกว่านะคะ)

ทีนี้ Race pace ล่ะคืออะไร

Race pace ก็เป็นคำนวน (predicted time) เพสการวิ่งที่ 5k, 10k, ฮาร์ฟมาราธอน และก็มาราธอน

การหา race paceก็จะทำด้วยการหาค่าที่เรียกว่า Magic mile คือจับเวลาว่าเราวิ่งเวลาเท่าไหร่ ใน 1 mile (1.6K) แล้วเอาค่านั้นมาหา pace ของเราว่าจะวิ่งได้เท่าไหร่ต่อ ระยะทาง 5k, 10k, half marathon, marathon เช่น

5k เพส: บวก 33 วินาที
10K เพส: คูณ 1.15
Half Marathon เพส: คูณ 1.2
Marathon เพส: คูณ 1.3

เป็นการคำนวนสมรรถภาพของเราตอนนี้ว่า นี่คือเพสที่จะวิ่งได้ในระยะทางเท่านี้ (สังเกตุว่าจะช้าลงเรื่อยๆตามระยะทาง เพราะร่างกายเราจะล้าไปเรื่อยๆตามระยะทาง)

การซ้อมจึงต้องซ้อม tempo run รวมกับการลงคอร์ท ต่างๆเพื่อให้เราวิ่งได้แข็งแรงขึ้น และทุกๆ 2-3 อาทิตย์ก็มาวัดค่า Magic mile เพื่อดูความก้าวหน้าของการซ้อม ค่าrace pace ควรจะดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราซ้อมวิ่งอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ

ตัวสุดท้าย การวิ่งเพส (marathon pace training)

มันคือการฝึกวิ่งด้วยความเร็วเท่ากับที่คุณตั้งใจจะวิ่งในวันจริง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการคำนวณเพสการวิ่งมาราธอน โดยใส่ค่าที่เราอยากจะจบการวิ่งมาราธอน มีโปรแกรมคำนวนให้ตาม internet ทั่วไป คือ วันจริงอยากจะวิ่ง(ในที่นี้คือระยะเต็มมาราธอน) กี่นาทีต่อกิโลเมตร หรืออยากจบที่กี่ชั่วโมง (ขออย่ามโนนะคะ เอาตามความเป็นไปได้กับตัวเรา- realistic นิดนึง) แล้วก็หาค่าไปว่าต้องวิ่งเพสเท่าไหร่ถึงจะจบได้ แล้วก็ซ้อมที่เพสนั้นเอาให้ชิน การรักษาระดับเพสเนี่ยเป็นศิลปะอย่างหนึ่งนะคะ เห็นมาหลายคนแล้วค่ะ หวั่นไหวง่าย ออกงานแล้วลืมหมดเพสเราอยู่ตรงไหน แล้วก็ไปหมดแรงตอนจบ เสียของค่ะ

เข้าใจตรงกันนะคะ

ยืดกล้ามเนื้ออก

ทำไม dynamic stretch ก่อนวิ่งต้องยืดกล้ามเนื้ออก

ง่ายๆเลย เพื่อฝึกให้วิ่งไหล่เปิดไม่ห่อไหล ให้ไหล่อยู่ในแนวเดียวกับเอว

การวิ่งห่อไหล่ไปข้างหน้า วิ่งหลังค่อม โดยเฉพาะเวลาเหนื่อยๆหลังกิโลที่20ไปแล้ว เห็นบ่อยเลยค่ะ เป็นการเพิ่มภาระให้กับ ไหล่ แขนและคอ และขัดขวางระบบการหายใจ รบกวนการเคลื่อนไหวของเอวและ กล้ามเนื้อ Hamstrings

อะไรไม่สำคัญเท่ากับหายใจไม่สะดวกตอนกิโลท้ายๆหรอกค่ะ มันเหนื่อย!!

เวลาวิ่ง อกต้องเปิด ผึ่งผายเข้าใว้ นะคะ นะคะ

หาไม้เบาๆมาหนึ่งอัน ไม้กวาดก็ได้อ่ะ ถือและยืดไปข้างหลังแบบในรูปเลยค่ะ ถ้าตึงมากอาจต้องใช้ momentum เป็นกิจกรรมเข้าจังหวะไปเลย ด้วยการ เดินถอยหน้าถอยหลังอยู่กับที่นะคะ

อย่างนี้ค่ะ

1. ถือไม้ชูขึ้นเหนือหัวนะคะ แขนสองข้างตึง

2. ก้าวขึ้นไปข้างหน้า 1 ก้าว (ขาข้างไหนก็ได้ไม่สำคัญ) แขนโยกไปข้างหลังแอ่นอกไปข้างหน้าแบบในรูปนะคะ

3. ก้าวกลับมาที่เดิม แขนกลับมาอยู่ระดับเหนือหัว หรือจะให้ดี ยื่นแขนไปข้างหน้าประมาณ15องศาจากจุดที่อยู่เหนือหัวนะคะ งงไม๊เนี่ย เอาให้เหลือบตาขึ้นแล้วมองเห็นไม้ ประมาณนั้น

4. ก้าวขึ้นไปข้างหน้า 1 ก้าว แบบเดิมอีก โยกแขนไปข้างหลัง

ทำซ้ำอยู่อย่างนี้ประมาณ 15-30 วินาที นะคะ

Quadriceps stretch

เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้าจะเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญสำหรับการเดิน การวิ่ง การขี่จักรยาน หรือการเล่นกีฬาแทบทุกชนิด เมื่อกล้ามเนื้อมีการใช้มากจะทำให้กล้ามเนื้อล้า และกล้ามเนื้อหดเกร็งซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บเมื่ออกกำลังกาย

ดังนั้นก่อนการออกกำลังกาย ในวันพักหลังวิ่งหรือเมื่อไรก็ตามที่รู้สึกว่าตึงๆตรงหน้าขา ก็ได้เวลาแล้วค่ะที่จะยืดกล้ามเนื้อ

เริ่มจากท่านั่งบนขาก่อนนะคะ ค่อยๆเอาศอกลงวางทีละข้าง ถ้าสุดได้แค่นั้น ก็เอาแค่นั้น ถ้าไหวก็ค่อยๆลดหัวลงจนจรดพื้น จนนอนราบหลังติดพื้นไปเลยก็ได้

ระยะเวลาการยืดกล้ามเนื้อจะขึ้นกับความตึงหรือความล้าของกล้ามเนื้อ 15 วินาทีขึ้นไปนะคะ

นี่ทำหลังจากวิ่งมา 7กิโล กำลังตึงแบบปานกลางค่ะ

การโหลดคาร์โบไฮเดรตอาทิตย์ก่อนวิ่งมาราธอน

นี่คือการโหลดคาร์โบไฮเดรตอาทิตย์ก่อนวิ่งมาราธอนนะคะ

เน้นคาร์โบไฮเดรตที่แตกต่างกันไปเพราะ แต่ละตัวมีการสะสมและย่อยสลายที่แตกต่างกันไปค่ะ

เน้นอีกอย่างว่าต่างจากการกินคาร์โบไฮเดรตไม่ให้อ้วน ที่พึ่งเขียนไปนะคะ นั่นสำหรับการกินวันพักนะคะ ไม่ใช่โหลดนะ

เคยเขียนใว้อย่างละเอียดแล้วสำหรับการโหลดก่อนวันแข่ง ไปหาอ่านดูนะคะ วันนี้เอาแต่รูปไปพอ เก็บแรงใว้วิ่ง อย่าเครียด

พาสต้า ซีเรียล ขนมปังwholewheat ข้าวขาว ข้าวแดง กล้วย น้ำผึ้ง เอาให้หลากหลายนะคะ

การโหลดคาร์โบไฮเดรตในวันพัก

นี่คือการโหลดคาร์โบไฮเดรตในวันพัก (วันที่ไม่ออกกำลังกาย) ซึ่งต่างกับการโหลดคาร์โบไฮเดรตก่อนมาราธอน นะคะ

คาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์จากผลไม้หลายสี มีเนื้อสัตว์ เช่น ปลาและหมู เป็นโปรตีนหลัก ถั่วญี่ปุ่นเป็นของว่าง นมไขมันต่ำเป็นโปรตีนจากพืชค่ะ